ในเดือนกันยายนปี 2564 หมู่บ้านสี่หลง ตำบลเถียนสี่ อำเภอหยางซั่ว เมืองกุ้ยหลิน เขตกว่างซี ประเทศจีนได้ต้อนรับแขกพิเศษกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเป็นนักการทูตประจำประเทศจีนที่มาจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ นายหลู้ เมิ่งกาง ชาวบ้านชนเผ่าจ้วงวัย 72 ปีได้เชิญพวกนักการทูตเข้ามาในบ้านอย่างมีน้ำใจไมตรี และแนะนำการเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านและครอบครัว: “ก่อนหน้านี้พวกเรายากจนมาก หลังจากการพัฒนาในไม่กี่ปีนี้ สภาพหมู่บ้านดีขึ้นเรื่อย ๆ ... ครอบครัวของผมมีรายได้มากกว่า 100,000 หยวนต่อปีโดยอาศัยการปลูกส้มโอและส้มซาถัง ตอนนี้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข!”
นับตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศ ตามมาตรฐานความยากจนที่ใช้กันในปัจจุบัน จำนวนประชากรที่ยากจนในเขตชนบทของจีนหลุดพ้นจากความยากจนแล้ว 770 ล้านคน
ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร 1 ใน 5 ของโลกได้ขจัดความยากจนในทุกด้านไว้ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว และบรรลุเป้าหมายในการบรรเทาความยากจนก่อนระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ถึง 10 ปี ตาม “วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573 ขององค์การสหประชาชาติ” ประชากรที่ได้รับการบรรเทาความยากจนของประเทศจีนมีมากกว่าถึง 70% ของประชากรที่ได้รับการบรรเทาความยากจนทั่วโลก ธนาคารโลกเรียกผลความสำเร็จนี้ว่า “หนึ่งในเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ”
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมปี 2561 คนงานบริษัทหล่อฮังก๊วยในเขตหย้านซานเมืองกุ้ยหลินกำลังขนหล่อฮังก๊วย(รูปภาพถ่ายโดยโจวหัว นักข่าวสำนักข่าวซินหัว)
นายซามาน เอกอัครราชทูตบังกลาเทศประจำประเทศจีนที่มาเยือนหมู่บ้านสี่หลงกล่าวว่าประเทศจีนได้สร้างต้นแบบในการขจัดความยากจนให้กับทั่วโลก
ประเทศจีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในธรรมาภิบาลเพื่อขจัดความยากจนทั่วโลกและความร่วมมือในการบรรเทาความยากจนระหว่างประเทศ: ผลักดันให้สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านมติขจัดความยากจนในชนบท เผยแพร่ตัวอย่างการบรรเทาความยากจนที่ได้รับการคัดเลือก ดำเนินการ “ โครงการบรรเทาความยากจน 100 โครงการ ”และส่งเสริมเทคโนโลยีการปลูกหญ้าปูเอเลียและข้าวลูกผสมเป็นต้น ...
อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี-มูนชี้ให้เห็นว่า ประเทศจีนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มา: สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)
การแปล: สถานีวิทยุกระจายเสียงอ่าวเป่ยปู้(BBR)