RCEP สร้างโอกาสให้เขตกว่างซีในการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศสมาชิกให้มากขึ้น

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. ปี 2022 สะท้อนถึงเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และมีศักยภาพสูงได้ลงนามจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะสร้างโอกาสให้กับเขตกว่างซีในการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศสมาชิกให้มากขึ้น

RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้จะส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจยุคหลังการแพร่ระบาด ในขณะเดียวกัน ภายใต้พื้นฐานความร่วมมือ 10+1 (อาเซียน-จีน) RCEP ได้สร้างระดับสูงสุดในการเปิดกว้างด้านสินค้า การบริการ และการลงทุน อีกทั้งยังมีมาตรการใหม่เพื่ออำนวยความสะดวก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และคณะกงสุลอาเซียนประจำนครหนานหนิงต่างมีความเชื่อมั่นต่ออนาคตที่ร่วมมือกับเขตกว่างซี

นาย Kyaw SoeThein กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ประจำนครหนานหนิงกล่าวว่า “ขณะนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เราต้องให้ความสนใจกับความร่วมมือทางการเงิน เช่น อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนและโลจิสติกส์สินค้าทัณฑ์”

นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิงได้กล่าวว่า “ประเทศไทยยินดีที่จะกระชับความร่วมมือกับกว่างซี เสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้โครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความครอบคลุมมากขึ้น”

นายเหงียน โหย่วจุน กงสุลพาณิชย์สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ณ นครหนานหนิงกล่าวว่า “กว่างซีเป็นประตูสำคัญสู่อาเซียน โดยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน ความตกลง RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ผมเชื่อว่า ภายใต้ความร่วมมือพหุภาคี จะเสนอโอกาสที่ดีและเวทีความร่วมมือสำหรับวิสาหกิจของทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น และกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าของทั้งสองฝ่ายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น”

การมีผลบังคับใช้ของความตกลง RCEP ช่วยให้บริษัทต่างชาติมองเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ นักธุรกิจจากสมาชิกหลายประเทศก็พร้อมที่จะเพิ่มแรงผลักดันใหม่สู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ

เฉิน หรง ประธานหอการค้ากว่างซีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์กล่าวว่า “เมื่อก่อน การเก็บภาษีศุลกากรสูงมาก หลังจาก RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว เหมืองแร่และสินค้าเกษตรของเมียนมาร์เข้ามาที่จีนจะสะดวกง่ายกว่า ในด้านผลผลิตทางการเกษตร เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ “เส้นหมี่เล็ก อุตสาหกรรมใหญ่” ของเมืองหลิ่วโจว จะนำบะหมี่หอยทากหลิ่วโจวไปขายที่เมียนมาร์ และนำข้าวหักของเมียนมาร์ส่งออกไปยังเมืองหลิ่วโจว”

สวุย เหวินฟาง รองเลขาธิการสภาธุรกิจอินโดนีเซีย-จีนได้กล่าวว่า “อินโดนีเซียต้องใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ดีของ RCEP ซึ่งเสนอการเข้าสู่ตลาดสำหรับสินค้าส่งออกของอินโดนีเซียที่เปิดกว้างขึ้น โดยเพิ่มบทบาทในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของอินโดนีเซีย การลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังคงเติบโตต่อไป”

เติ้ง เหลียงหุ้ย รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจจีน-ลาว แห่งหอการค้าอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติลาวได้กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ ทางลาวมีการหารือกับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำเขตกว่างซีอย่างแข็งขัน ในอนาคต เราจะอาศัยโอกาสของ RCEP สำรวจโอกาสในด้านการติดต่อสื่อสาร เกษตรกรรมสมัยใหม่ ความเป็นกลางทางคาร์บอนของป่าไม้ การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า ฯลฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจของลาวและประเทศจีน รวมถึงเจตกว่างซี”

 

ที่มา: สถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งกว่างซี

การแปล: สถานีวิทยุกระจายเสียงอ่าวเป่ยปู้(BBR)

รูปภาพ:Prachachat 

You can share this post!

กว่างซีเชื่อมโยงกับ RCEP คณะกรรมการประจำกว่างซีของCPPCC เสนอให้เร่งสร้าง“แถบเศรษฐกิจชายแดนกว่างซีสมัยใหม่”

เจิ้ง เยว่หลาน(Zheng Yuelan): ฉันหวังว่ามีรถไฟความเร็วสูงวิ่งตรงจากนครหนานหนิงไปยังบ้านเกิดของฉันกรุงฮานอยประเทศเวียดนาม