นายปิติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
นายปิติ นักวิชาการไทยชื่อดัง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า "การประชุมสองสภา" ของประเทศจีนได้กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นหน้าต่างสำคัญสำหรับทั่วโลกในการทำความเข้าใจกับประเทศจีน เขาเองก็ได้จับตามอง "การประชุมสองสภา" มาหลายปีแล้ว
ในบรรดาคีย์เวิร์ดมากมายเกี่ยวกับ "การประชุมสองสภา" ของประเทศจีน นายปิติกล่าวว่าคำที่เขารู้สึกประทับใจที่สุดคือ "การส่งเสริมการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติ" ยิ่งช่วงที่สถานการณ์โลกไม่มั่นคง เราต้องร่วมมือกันมากขึ้น "การร่วมมือไม่เพียงแค่ต้องการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือความมั่นคงเท่านั้น แต่ยังต้องการร่วมมือในด้านเศรษฐกิจด้วย การค้าระหว่างประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศจะช่วยให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งเต็มไปด้วยพลังบวก "เราสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากประเทศจีน เช่นข้อริเริ่ม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น และให้ความสนใจกับการที่จีนและประเทศตาม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"จะแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างไรมากขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาในอาเซียน แอฟริกา เอเชียใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ต้องการมากที่สุด "
นายปิติคิดว่าเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง กำลังประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในด้านต่างๆ ในประเทศจีน และได้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนาของประเทศจีน ประเทศจีนได้ลงทุนมหาศาลในด้านโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งได้เตรียมการมาอย่างยาวนาน นี่คือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากประเทศจีน ผมคิดว่าอาเซียนกับประเทศจีน ประเทศไทยกับประเทศจีนควรทำงานร่วมกัน ส่งเสริมการพัฒนาของภูมิภาคผ่านความร่วมมือทางเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันสำหรับทั้งประเทศจีนและอาเซียน และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึง "ชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติ "อีกด้วย
ที่มา: CRI
การแปล:สถานีวิทยุกระจายเสียงอ่าวเป่ยปู้