MANGU E-Magazine Cover Story Issue 237 (1st August 2022) สัมภาษณ์ ท่านสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุดของประเทศไทย คนที่16

อัยการสูงสุด เป็นองค์กรสูงสุดของประเทศ เป็นส่วนสัญของกระบวนการยุติธรรม มีพันธกิจสำคัญในการดำเนินคดีอาญาในนามของประเทศรักษาความยุติธรรมและความเป็นธรรม. จากพนักงานระดับรากหญ้าไปจนถึงผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นแบบอย่างให้กับคนทั้งประเทศ บุคคลสำคัญทั้งหมดที่กลายมาเป็นแบบอย่างของอัยการต้องมีจิตวิญญาณความจงรักภัคดีและการอุทิศตน ยืนหยัดอย่างกล้าหาญในระดับของแนวหน้าในยุคสมัยและเป็นผู้บุกเบิก ดังนั้นในสภาพแวดล้อมยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ อัยการแบบไหนที่ประชาชนต้องการ ในฐานะหัวหน้าอัยการสูงสุดของประเทศบางก็อาจจะให้คำตอบแก่เราได้

ท่านสิงห์ชัย ทนินซ้อน เกิดในครอบครัวกฏหม ภายใต้อิทธิพลของพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก เป็นความทะเยอทะยานของเขาที่จะรักษาความยุติธรรมของกฏหมายประเทศและช่วยเหลือประชาชนในประเทศในทางปฏิบัติ ดังนั้นตั้งแต่ตอนที่เขาสมัครเรียนวิชาเอกของมหาลัย เขาจึงใช้เส้นทางของกฏหมายและการเมืองโดยไม่ลังเล

ในปี พ.ศ.2522  ท่านสิงห์ชัย ทนินซ้อนได้สอบเข้าอัยการสูงสุดของประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีอาชีพอัยการ จากผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานตุลาการสู่การเป็นอัยการสูงสุดคนที่16 ของสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งประเทศไทย ท่านสิงห์ชัย ทนินซ้อนใช้เวลา 42 ปีเต็ม นอกจากนี้ยังสะสมประสบการณ์ในการทำงานแล้ว ยังมีจิตสำนึกที่เคร่งคัดในการมีวินัยตนเองและจิตใจที่จริงจังเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียวบทบาทของอัยการอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบตุลาการ ดังนั้นเราจึงต้องเป็นผู้นำโดยเป็นแบบอย่างและเป็นอัยการที่ซื่อสัตย์ให้ประชาชนเข้าใจ เข้าร่วมและให้ความร่วมมือ ผมหวังว่าอัยการสูงสุดสามารถเป็นหน่วยงานต้นแบบที่สร้างความพึงพอใจให้กับประเทศและประชาชนโดยไม่สูญเสียความไว้วางใจจากประชาชน

ทุกยุคทุกสมัย ทุกสาขามีรูปแบบของตัวเอง.แบบอย่างมีรากฐานมาจากมวลชนเสมอ โดยคิดว่าประชาชนต้องการอะไรและสร้างสิ่งที่ประชาชนต้องการ ความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประเทศชาติและประชาชนในฐานะผู้นำของอัยการสูงสุด คุณสิงห์ชัยเป็นแบบอย่างที่ดี นำอัยการสูงสุดมาเป็นหัวหน้าองค์กรตุลาการที่ใช้กฎหมายปกป้องประชาชนและความยุติธรรมทางสังคม

 

 

ManGu : ทราบมาว่าท่านจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตและรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยากให้ท่านช่วยเล่าประวัติการศึกษาให้ฟังแบบคร่าวๆ ?

SINGHACHAI : หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผมก็สอบติดคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงการเป็นนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ก็เป็นช่วงที่จริงจัง เรียกได้ว่าพยายามและ ทุ่มเทอย่างเต็มกําลัง ซึ่งจากความพยายามทุ่มเทนี้ ทําให้ผลการเรียนค่อนข้างเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดจนสําเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง ด้วยการที่จบกฎหมาย และมีความสนใจงานที่ในด้านนี้ ประกอบกับคุณพ่อก็เป็นอัยการ จึงศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิต สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หลังจากนั้นก็เริ่มเข้ารับราชการเป็นนิติกร ในสํานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา และเห็นว่าการทํางานด้านกฎหมาย ควรจะต้องมีมิติเชิงรัฐศาสตร์เข้ามาเติมเต็มกรอบความคิดใน ความเป็นเหตุเป็นผลและความเป็นไปทางสังคม เข้าใจคน เข้าใจบริบทการเมือง หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานในความผิดชอบมีประสิทธิภาพ มิได้ยืนอยู่บนฐานของตัวบทกฎหมายแต่เพียงประการเดียว เพราะบางครั้งจะต้องอาศัยบริบทแวดล้อมร่วมด้วยจึงจะทําให้ความยุติธรรมเป็นความ ยุติธรรมอย่างแท้จริง

 

ManGu : ท่านมีความสนใจงานด้านกฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่ เหตุใดจึงเลือกด้านนี้ ?

SINGHACHAI : ผมเกิดและเติบโตในครอบครัวที่มีคุณพ่อเป็นนักกฎหมาย จึงคิดว่างานด้านกฎหมายน่าจะช่วยเหลือสังคมและประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วยเหตุที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย หรือไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ จึงสนใจงานด้านกฎหมาย และเลือกที่จะปฏิบัติงานในฐานะ พนักงานอัยการ ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในการ อํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ การคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีส่วนช่วยเหลือและผลักดันให้เรื่องเหล่านี้ ได้รับการแก้ไข และเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

 

ManGu : ก่อนที่ท่านจะมาดํารงตําแหน่งอัยการสูงสุด ท่านทํางานในส่วนใดมาบ้าง อยากให้ท่านช่วยเล่าเส้นทางการทํางานของท่าน ?

SINGHACHAI : หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ผมเริ่มทํางานเป็นนิติกร ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจึงสอบเป็นอัยการ รับราชการที่สํานักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เรื่อยมา จนได้รับโอกาสให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งสําคัญ อาทิ

-รองอธิบดีอัยการสํานักงานชี้ขาดอัยการสูงสุด

-รองอธิบดีอัยการสํานักงานคดีอาญา

-รองอธิบดีอัยการสํานักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร

หลังจากนั้นก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง

-อธิบดีอัยการสํานักงานคดีอัยการสูงสุด

-อธิบดีอัยการสํานักงานคดีอาญา

-รองอัยการสูงสุด

กระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในส่วนของงานที่นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของอัยการสูงสุดแล้ว ผมได้รับมอบหมายให้ดํารงตําแหน่งอื่น ๆ ทางสังคม เช่น อุปนายกเนติบัณฑิตยสภา และกรรมการในสภามหาวิทยาลัยบูรพา

 

 

ManGu : ในการปฏิบัติงาน ท่านมีเป้าหมายคือ การยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภาพมาตรฐานงานตามภารกิจด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน เป้าหมายทั้งหมดนี้มีการบรรลุผลเป็นไปในแนวทางใดบ้าง ?

SINGHACHAI : สํานักงานอัยการสูงสุด ถือเป็นหนึ่งในองค์กรสําคัญในสายธารของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจากการรับรู้ รับทราบของสาธารณชนโดยทั่วไปคือการทําหน้าที่ในฐานะของการเป็นทนายของแผ่นดินในการพิจารณาสั่ง ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งภารกิจดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในภารกิจสําคัญ (Core Function) ในด้านการอํานวยความ ยุติธรรม นอกเหนือจากนี้สํานักงานอัยการสูงสุดยังมีภารกิจสําคัญในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและ ประชาชน รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งจากบทบาทและภารกิจ ดังกล่าวที่มุ่งเน้นไปยังผู้รับผลประโยชน์ หรือกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนในมิติของกระบวนการ ยุติธรรม และ รัฐในมิติของสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรม ซึ่งผลการดําเนินงานในภาพรวมตั้งแต่ใน อดีตจนถึงปัจจุบันหากวิเคราะห์จากข้อมูลทางสถิติของสํานักงานจะพบว่าเป็นไปในทิศทางที่เป็นไปตาม เป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนด อันเนื่องจากการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทํางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิต และผลลัพธ์ของงานที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เช่น การเชื่อมโยง ภารกิจของสํานักงานอัยการสูงสุดกับทิศทางประเทศ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความ รวดเร็วและแม่นยําในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งที่สะท้อนผลการดําเนินงานของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ดีที่สุดอีก ประการก็คือความเชื่อมั่นศรัทธาในสายตาของสาธารณชนในปัจจุบัน

 

 

ManGu : ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางสํานักงานอัยการสูงสุดมีการปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง ?

SINGHACHAI : สํานักงานอัยการสูงสุดเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานในกระบวนยุติธรรมที่เต็มไปด้วยความท้าทายรอบด้าน

โดยเฉพาะในห้วงทศวรรษนี้เรากําลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านและสถานการณ์อันยากต่อการคาดเดา อย่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 สํานักงานอัยการสูงสุดได้มีการศึกษาและทบทวนแนว ทางการดําเนินงาน เพื่อกําหนดแนวทางและการดําเนินงาน ดังนี้

1. การนําแนวคิด Agile Workplace ที่เน้นความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน โดยขจัดปัญหาอุปสรรค หรือขั้นตอน หรือกระบวนวิธีที่ไม่จําเป็นออกไป โดยกําหนดให้มีการทํางานแบบ Work From Home เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและความสะดวกในการปฏิบัติงาน

2. มีการพัฒนาระบบ Application มาใช้ในการให้บริการประชาชน เช่น แอปอัยการช่วยได้ ในการอํานวยความสะดวกให้กับทางประชาชนในการยื่นคําร้องขอความช่วยเหลือ และการนัดหมายในการรับบริการพร้อมทั้งบริการในส่วนของการให้คําปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อลดวามเสี่ยงให้แก่ประชาชนไม่ต้องเดินทาง มาติดต่อที่สํานักงานบ่อยครั้ง

3. การสนับสนุนและให้บริการทางการแพทย์แก่บุคลากร เช่น การจัดหน่วยตรวจและแจกอุปกรณ์การ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 การจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้คลอบคลุมบุคลากรทั่วประเทศให้มากที่สุด การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เป็นต้น ทั้งนี้การดําเนินการต่าง ๆ ล้วนมีความคาดหวังก็เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานยังคงส่งผลผลิต และผลลัพธ์ต่อรัฐ และประชาชนอย่างต่อเนื่องแม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ การปฏิบัติงานของสํานักงานอัยการสูงสุด

 

 

ManGu : จากการที่ให้ประชาชนได้มีการแสดงความคิดเห็น สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะผ่านระบบ QR Code ได้รับผลตอบรับกลับมาอย่างไรบ้าง ?

SINGHACHAI : การดําเนินการดังกล่าวต้องเรียนว่า ทางสํานักงานอัยการสูงสุดเราเป็นหน่วยงานที่เปิดกว้างและรับฟังการแสดงความคิดเห็นของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำถึงภาพลักษณ์ขององค์กรในเรื่องของการ สร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งที่ผ่านมาผมได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกภาคส่วนอย่างดียิ่ง ซึ่งผลจากการ แสดงความคิดเห็น สภาพปัญหา หรือข้อเสนอแนะที่ได้รับนั้นทําให้เกิดมิติใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน หรือ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแก่ประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น โครงการคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือกฎหมายให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ ก็ถือเป็นโครงการที่ริเริ่มจากการรับฟังความคิดเห็น ดังกล่าว จึงถือเป็นมิติที่สํานักงานอัยการสูงสุดให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้สิ่งสําคัญในการรับฟังความ คิดเห็นต่าง ๆ จะต้องไม่ใช่แค่การรับฟัง รับรู้ รับทราบ แต่จะต้องมีการนํามาวิเคราะห์ และนําไปปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

 

 

ManGu : ช่วงการทํางานที่ผ่านมา ท่านพบเจอกับปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่บ้างหรือไม่ และท่านมีวิธีแก้ไข ปัญหาและรับมืออย่างไร ?

SINGHACHAI : เป็นเรื่องปกติที่การปฏิบัติงานจะต้องพบเจอกับปัญหาอุปสรรค ด้วยบทบาทหน้าที่ของผมที่ได้รับตั้งแต่เข้า มารับราชการในสํานักงานอัยการสูงสุด เรียกได้ว่าปัญหาอุปสรรคนั้นมีปรากฏให้เห็นอยู่ตลอด แต่สิ่งที่ผม ตระหนักอยู่เสมอก็คือทุก ๆ ความมืดมิดมักจะมีแสงสว่างซุกซ่อนอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าเราจะค้นหาเจอหรือไม่ ด้วยวิธีการใด โดยปกติแล้วผมจึงมักหันกลับมาตั้งสติ หันกลับมาวิเคราะห์และไตร่ตรองดูว่าปัญหาที่เราเจอ คืออะไร อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง เมื่อเราเห็นสาเหตุจะทำให้เรามองเห็นทางออกได้ชัดขึ้น ในชั้นนี้อาจจะ ต้องมีการปรึกษาหารือกับผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ที่มากกว่า หรือแม้แต่ความคิดเห็นของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเขาอาจมีมุมมองที่เราอาจมองไม่เห็น ก็จะเป็นส่วนที่จะมาช่วยพิจารณาแยกแยะ แนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้เรามองเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างกลมกล่อมมากขึ้น และเป็น ประโยชน์กับทุกฝ่าย

 

ManGu : เหตุใดท่านจึงได้ฉายาว่าอัยการตงฉิน” ?

SINGHACHAI : ต้องเรียนอย่างนี้ว่า อาจเป็นเพราะทุกคดี หรือการปฏิบัติงานในทุกบทบาทหน้าที่ที่ผมได้รับ มีความ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ ผมจึงยึดหลักความถูกต้องและความชอบธรรมเป็นสําคัญ ไม่มีใครอยู่ เหนือกฎหมาย การเคร่งครัดในหลักการ และทําทุกงานอย่างเต็มที่โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของรัฐและ ประชาชนก่อนเป็นอันดับแรกจะทําให้งานที่เราทํามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี กลายเป็นความศรัทธาที่ไม่ต้องลงทุน อะไรเลย แต่คําว่าอัยการตงฉิน เห็นจะเป็นคํากล่าวที่อาจไม่ค่อยจะดีนัก เพราะหากพูดแบบนี้หมายความว่า อัยการท่านอื่น ๆ หรือแม้แต่ผู้ทําหน้าที่อื่น ๆ ในบ้านเมืองที่ไม่ได้พ่วงท้ายด้วยคําว่าตงฉิน จะต้องกลายเป็น คนกังฉินกันหมด ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าข้าราชการทุกคน รวมถึงใครก็ตามที่มีความตั้งใจที่จะทําประโยชน์เพื่อ สวนร่วม มีความตั้งใจดี ยึดมั่นความถูกต้องเป็นประการสําคัญ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการทําหน้าที่โดย สมบูรณ์ย่อมมีคุณค่ามากกว่าการได้รับฉายา หรือการได้รับรางวัลสําคัญใด ๆ

 

ManGu : ท่านอยากเห็นองค์กรอัยการเป็นไปในทิศทางใดในอนาคต ?

SINGHACHAI : วิสัยทัศน์ของสํานักงานอัยการสูงสุดในปัจจุบันคือ องค์กรนําในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคมในขณะที่การดําเนินภารกิจหลักคือ การอํานวยความยุติธรรม การรักษา ผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งจากบทบาทและ ภารกิจของสํานักงานอัยการสูงสุดในปัจจุบัน รวมทั้งการที่องค์กรอัยการไม่มีคู่แข่งขันหรือคู่เทียบในเชิง ภารกิจโดยตรงจึงเสมือนเป็นหน่วยงานกลางน้ำเพียงแห่งเดียวในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนฐานะ องค์กรนําในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม จึงเป็นสถานะที่สะท้อน ความเป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์กร แต่ยังขาดพร่องความท้าทายและความทะยานอยากที่ควรมุ่งไปสู่ เป้าหมายที่สูงขึ้นและท้าทายมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่อยากเห็นคือการเป็นองค์กร ต้นแบบในกระบวนการ ยุติธรรมในด้านการปรับตัวเพื่อยกระดับกระบวนการยุติธรรมให้เป็นอย่างรวดเร็ว สุจริต โปร่งใส เสมอภาค และเท่าเทียม เป็นองค์กร ชั้นนําในกระบวนการยุติธรรมที่สร้างประโยชน์ให้แก่รัฐและประชาชน เพื่อ รักษาความเชื่อมั่นศรัทธาจากสาธารณชนตลอดไป

 

ManGu : คติประจําใจในการปฏิบัติงานราชการของท่านคืออะไร ?

SINGHACHAI : ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นประการสุดท้าย ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นประการแรก และอยู่กับปัจจุบันโดยทําหน้าที่ให้เต็มที่และดีที่สุดเสมือนว่า วันพรุ่งนี้อาจไม่มีอีกต่อไป

 

ManGu : งานอดิเรกของท่านคืออะไร ?

SINGHACHAI : ภารกิจของอัยการสูงสุดนั้นมีเป็นจํานวนมาก ทั้งงานบริหาร งานสั่งสํานวนคดีตามอํานาจหน้าที่ ซึ่งผมให้ ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ในแต่ละวันนั้นผมต้องทํางานมากกว่าเวลาราชการปกติ วันหยุดประจําสัปดาห์หากไม่มี ภารกิจหรืองานในหน้าที่อื่น จะเป็นช่วงเวลาที่ลูกสาวของผม ซึ่งรับราชการเป็นผู้พิพากษาที่ต่างจังหวัดจะ กลับมาที่บ้านจึงเป็นโอกาสทองที่ผมจะได้ทํากิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวร่วมกัน เช่น ทําบุญ ทําอาหาร ท่องเที่ยว รวมถึงผมจะหาเวลาว่างในการออกกําลังกาย โดยตีกอล์ฟเป็นกีฬาที่ชื่นชอบ นอกจากจะเป็นการออก กําลังกายแล้วยังได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องงานไปในตัวด้วย และการเป็นนักกฎหมายต้องมีการทบทวนความรู้ใหม่ๆ เสมอจึงชอบอ่านหนังสือที่บ้านได้ถือโอกาสพักผ่อนกับครอบครัวด้วย

 

ManGu : ท่านมีวิธีหรือการจัดการด้านเวลาระหว่างงานกับทํากิจกรรมส่วนตัวอย่างไรบ้าง ?

SINGHACHAI : ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคนที่ชอบบอกว่าไม่มีเวลา เพราะผมเชื่อว่าเรามีเวลาเท่ากันทุกคน สิ่งสําคัญคือคุณจะต้องรู้จักบริหารเวลา จะทําให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากงานปริมาณมีมากในช่วงเวลาใดก็ ต้องทําให้เต็มที่ หากไม่เสร็จหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด ก็ต้องลดเวลาทําในเรื่องที่ไม่จําเป็น ออกไป หรืออย่างน้อย ๆ แค่แบ่งเวลาเพียง 5 – 10 นาที ก็สามารถทํากิจกรรมส่วนตัวต่าง ๆ ได้แล้ว ไม่ว่า จะเป็นออกกําลัง หรือสร้างความรื่นรมย์ต่าง ๆ ในชีวิต

 

ManGu : ฝากอะไรสักเล็กน้อยถึงลูกค้าชาวจีนและผู้อ่านนิตยสารฉบับนี้ ?

SINGHACHAI : ดังคํากล่าวที่ว่า จงไท่อี้เจียซิน” (中泰一家亲) หรือจีน-ไทย ครอบครัวเดียวกัน ผมจึงมีความรู้สึกถึงความ มีมิตรไมตรีและสายสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างไทยและจีนทั้งในระดับประชาชนและรัฐบาล ด้วยสายสัมพันธ์อัน แน่นแฟ้นนี้ผมจึงขอแสดงความห่วงใยและความปรารถนาดีมายังพี่น้องชาวจีน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน ขอให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ร่ำรวยด้วยทรัพย์ศฤงคาร และขอให้โลกของเราผ่านเหตุการณ์อันไม่ปกติทั้ง ปวง ทั้งโรคระบาด และความถดถอยทางเศรษฐกิจให้จางหายไปโดยเร็ว ทั้งนี้ผมเชื่อว่าหลังม่านพายุย่อมมี แสงทองผ่องอําไพรอให้เฉิดฉายอยู่เสมอ

 

 

感谢.

Singhachai Taninson / สิงห์ชัย ทนินซ้อน 

 

Photographer : Chanokpohn Camnasak @Mickeyhighway_

Graphic Designer : Jamjuree Phetcharat @jam_2p 

Coordinator  : Lalana Akka-hatsee @joobjang_akhs

Column Writer : ZOU SIYI @joy_zz97 / Ausanee Minsulaiman @ausanee.nee / Patthanapong Polpiboon @plyyp 

You can share this post!

MANGU Cover Story Issue 238 (15th August 2022) สัมภาษณ์ คุณเจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข และ คุณจีน่า ญีน่า ซาลาส นักแสดงนำจากละคร “พิศวาสฆาตเกมส์”

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 236 (15th July 2022) สัมภาษณ์ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย