MANGU E-Magazine Cover Story Issue 236 (15th July 2022) สัมภาษณ์ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในช่วงสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่รุนแรง ประกอบกับผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 และสงครามในยุโรปที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ผู้นำในด้านการเงินต้องแบกรับความรับผิดชอบที่หนักอึ้งเป็นพิเศษ เขาต้องเป็นผู้ที่นำเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านแนวอุปสรรคปัญหาในคลื่นที่ปั่นป่วน อีกทั้งยังต้องนำพาประเทศเข้าสู่ยุคสกุลเงินดิจิทัล , Blockchain , การชำระเงินออนไลน์ และอื่นๆ

ดร.ปรเมธี มีความสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์และตัวเลขมาตั้งแต่สมัยเรียน เขาได้รับทุนจากรัฐบาลไทยและไปเรียนต่อที่ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาได้มาดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเริ่มมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวสำหรับประเทศไทย ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน โดยการกำหนดนโยบายต้องพิจารณาทุกด้านโดยรวม โดยคำนึงถึงความแข็งแกร่งทางการเงินที่จำกัดของประเทศไทย ตลอดจนสถานการณ์จริงในแง่ของที่อยู่อาศัย รายได้ ค่ารักษาพยาบาล การศึกษา รวมไปถึง ผู้ที่เปราะบางที่สุด

ดร.ปรเมธี ดำรงตำแหน่งผู้นำธนาคารกลางของประเทศไทยต้องเผชิญกับโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น สมัยที่เขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางครั้งแรกนั้นอยู่ช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่คือการยกระดับกระชับเงินและควบคุมสภาพคล่องส่วนเกิน ในการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นั่นคือการที่โลกเผชิญการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลงทำให้ประเทศไทยต้องใช้นโยบายการเงินและการเงินที่แข็งขันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะเดียวกันการพัฒนาของสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งถึงแม้ว่าประเทศจะเผชิญกับปัญหาอะไร ท่านไม่ได้มองว่าเป็นวิกฤต แต่เป็นโอกาส "ใหม่" ที่ต้องเผชิญและเรียนรู้ ไม่หลีกเลี่ยงและเพิกเฉย นิตยสาร@ManGu ฉบับนี้ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จัก ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ที่จะมาเล่าถึงประสบการณ์กว่าจะมาเป็นประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ManGuอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ท่านมีส่วนร่วมในอาชีพทางเศรษฐกิจ?

Dr.Porametee : ผมไม่เคยนึกมาก่อนว่าในอนาคตจะเข้ามาในแวดวงนี้ ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเลือกสาขาวิชา ตอนนั้นก็ยังไม่ได้คิดว่าจะเป็นยังไง แต่ก็คิดว่าวิชาเศรษฐศาสตร์น่าสนใจมากๆ เพราะว่าถ้าเราไปทำเรื่องของธุรกิจเอกชน ก็จะได้รู้ว่าระบบเศรษฐกิจทำงานอย่างไร หรือว่าถ้าเรามาฝั่งของราชการ ก็จะได้ช่วยเรื่องของการดูแลเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะฉะนั้น ผมเลยสนใจที่จะเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ จนกระทั่งเรียนจบปริญญาโท ก็ได้เข้าไปทำงาน ตัดสินใจไปทำงานทางฝั่งของราชการ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากนั้นผมได้รับทุนจากรัฐบาลเพื่อไปเรียนต่อปริญญาเอกที่แคนาดาเป็นเวลา 5 ปีครับ

 

ManGuงานหลักของท่านในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคืออะไร?

Dr.Porametee :ส่วนใหญ่ผมจะทำ Economics Social Planning ทำแผนพัฒนาประเทศ 4-5 ปี ทำงานอยู่ที่นั่นจนเกษียณครับ แต่ว่าใน 2 ปีสุดท้าย ผมย้ายมาที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ การที่มาทำงานที่นี่ค่อนข้างท้าทายผมอยู่ตลอดเวลา ผมจำได้ว่าตอนที่ผมดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ตอนนั้นก็มีการจัดทำแผนพัฒนาฉบับที่ 12 แล้วก็เป็นช่วงที่รัฐบาลได้ริเริ่มให้มีแผนระยะยาว 20 ปีของประเทศ หรือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ครับ

ManGuตอนที่ท่านได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศท่านจะพิจารณาในด้านใดบ้าง?

Dr.Porametee :ผมจะพิจารณาในหลากหลายด้าน ประการแรกคือระดับเศรษฐกิจโดยพิจารณาจากงบประมาณทางการเงินและค่าใช้จ่าย ประการที่สองผมจะพิจารณาเรื่องที่อยู่อาศัย รายได้ การรักษาพยาบาล สังคม การศึกษา และด้านอื่นๆ สุดท้ายนี้คือการคำนึงถึงการช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน เช่น คนสูงวัยที่ไม่มีลูกอยู่ด้วย เด็กยากจน เป็นต้น

 

ManGuการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีผลกระทบต่อการทำงานของธนาคารกลางอย่างไรบ้าง?

Dr.Porametee :การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นี้แตกต่างจากวิกฤตอื่น ๆ นี่เป็นวิกฤตระดับโลกที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้า ในช่วงแรกๆ ของการระบาด ทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับแนวโน้มของเศรษฐกิจตั้งแต่แรก เนื่องจากในช่วงแรกๆมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารกลางประสบปัญหาและปัญหาในการลงทุนกองทุนและการออกสกุลเงิน ซึ่งทำให้เราต้องสร้างกลไกใหม่เพื่อช่วยในการดำเนินงานของกองทุนของธนาคารกลาง วิกฤตโควิด-19 กระทบกลุ่มผู้มีรายได้น้อยของไทยหนักที่สุด เศรษฐกิจที่หดตัวในประเทศไทยส่งผลให้หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงต้องการมาตรการช่วยเหลือทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ภาคธุรกิจและลูกหนี้ครัวเรือนผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

ManGuครั้งนี้ถือเป็นวาระที่สองที่ท่านได้รับหน้าที่เป็นประธานธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านคิดว่ามีความแตกต่างในการดำรงวาระครั้งแรกอย่างไร?

Dr.Porametee :ผมคิดว่าแตกต่างในด้านสภาพแวดล้อม เพราะว่าในวาระแรก เป็นช่วงปลายของวิกฤษเศรษฐกิจโลก

การดำรงตำแหน่งครั้งแรกใกล้เคียงกับการสิ้นสุดของวิกฤตเศรษฐกิจโลก อเมริกาอัดฉีดเงินเข้ามาในเศรษฐกิจโลกและเรื่องการฟื้นตัวเงินลดลงจากมาตรการการเงินที่เคยใช้อย่างรุนแรง ในช่วงของปลายวาระแรกก็เริ่มมีโควิดเข้ามาทับเกี่ยวกับในช่วงวาระที่ 2 ในเรื่องของภาคการเงิน เริ่มมีเรื่องของ Digital Technology เข้ามา ในวาระแรกก็เป็นช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มมีการปรับระบบการจ่ายเงิน เริ่มใช้ QR Code , พร้อมเพย์ ขึ้นมา เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนตอนนี้ก็เริ่มก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญเช่นกัน สำหรับธนาคารกลางของประเทศไทยในอนาคต

 

ManGuประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่รู้จักและยอมรับเงิน cryptocurrencies ต่าง ๆ อยากทราบถึงทัศนคติของท่านที่มีต่อเงินสกุล cryptocurrencies?

Dr.Porametee :ผมมองว่านี่สิ่งนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ในโลกของดิจิทัล เพราะฉะนั้นการใช้นวัตกรรมต้องเปิดโอกาสให้มีการพัฒนา เพราะว่าอาจจะไปสู่การใช้รูปแบบต่างๆ และคอยดูว่ามีความเหมาะสมอย่างไร

แต่ในขณะเดียวกัน เป็นเรื่องที่ต้องดูแลความเสี่ยง ความเสี่ยงของผู้บริโภค คือคนที่ใช้ต้องมีการกำกับให้เขามั่นใจและเรื่องของความเสี่ยงในระบบการเงินของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นเราเปิดโอกาสให้มีการพัฒนา แต่ก็ต้องคอยดูแลว่าใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง และดูแลความเสี่ยงให้แน่ใจว่าไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งคนที่ใช้และระบบการเงินของประเทศครับ

ManGu ช่วยอธิบายให้ประชาชนทั่วไปถึงบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นอย่างไร?

Dr.Porametee :ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลในส่วนของสภาพระบบการเงินของประเทศ อย่างเช่นดูแลการเงินเฟ้อ การแลกเปลี่ยน ซึ่งทุกคนก็โดนผลกระทบของเงินเฟ้อสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อัตราการแลกเปลี่ยนผันผวนก็จะไปกระทบกับราคาสินค้า กระทบกับเงินในมือของประชาชน ธนาคารแห่งชาติเป็นคนที่ดูแลส่วนนี้นอกจากนี้ยังดูแลเรื่องของระบบการเงิน การเงินมีพัฒนาการ บริการทางด้านของการเงิน คนที่ฝากซื้อสินค้า สินเชื่อ ธนาคารแห่งชาติก็เป็นคนดูแลในเรื่องความมั่นใจเรื่องของความมั่นคง นี่คือสิ่งที่ธนาคารแห่งชาติดูแลเกี่ยวกับประชาชนทั่วไปครับ

 

ManGuในการทำงานของท่านเจออุปสรรคอะไรบ้างไหม แลผ่านวิกฤตนั้นมาได้อย่างไร ?

Dr.Porametee :น่าจะเป็นช่วงที่ผมต้องย้ายจากการเลขาธิการ มาเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างกระทันหัน ไม่ได้มีเตรียมการล่วงหน้า จะต้องเปลี่ยนบทบาทงานที่รับผิดชอบ จึงถือว่าเป็นความท้าทายครับ

ManGu : ค่านิยมร่วมของธนาคารแห่งประเทศไทย นั้นคือ ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ ติดดิน ทราบมาว่าท่านได้มีส่วนร่วมในการกำหนดค่านิยมร่วมด้วย อยากให้ท่านช่วยอธิบาผลให้ฟังว่าตีความว่าอย่างไรบ้า?

Dr.Porametee : ยืนตรง ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับธนาคารแห่งชาติ เรื่องของการทำงาน ก็คือต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง บางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจประชาชน เพราะมีการผลได้ผลเสีย อยู่ตลอดเวลา

แต่เนื่องด้วยเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำ ไม่อย่างนั้นประเทศอาจจะมีปัญหา

 

มองไกล คือทางธนาคารแห่งชาติจะต้องมองวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลมองไปข้างหน้า ว่าจะประสบพบเจอกับอะไร จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น การแก้ปัญหาล่วงหน้า

ยื่นมือ คือต้องพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น และต้องทำงานร่วมกับคนอื่น

ติดดิน คือต้องศึกษาหรือว่าต้องอยู่ใกล้ชิด กับสภาพความเป็นจริง เพื่อที่เราจะได้เห็นและเข้าใจสถานการณ์ ไม่ใช่อยู่แต่ตัวเลขหรือข้อมูลอย่างเดียวครับ

ManGuตั้งแต่เกิดความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจการเงินโลกได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง ตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไรบ้าง?

Dr.Porametee :เรื่องของสงครามประเทศรัสเซียกับยูเครน ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรงอาจจะไม่เยอะ เพราะว่าการค้าโดยตรงของไทย รัสเซีย และยูเครน หรือการท่องเที่ยว มีไม่มากนัก แต่ว่าผลกระทบในทางอ้อมเช่น กระทบเศรษฐกิจยุโรป กระทบกับเศรษฐกิจที่ประเทศอื่น ก็จะกระทบต่อการส่งออกนักท่องเที่ยวของประเทศไทย และที่มีผลอย่างมากในตอนนี้ เพราะว่ามันเกิดจากการเพิ่มราคาของน้ำมันสูง เงินเฟ้อขึ้นไปสูงเกือบถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เคยขึ้นสูงถึงขนาดนี้ในรอบ 17-18 ปีที่ผ่านมาครับ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีเครื่องมือ แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหลายประเทศก็ใช้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการช่วยปรับเงินเฟ้อ ควบคุมเงินเฟ้อ ก็มีทั้งผลดีผลเสีย ทางผู้บริโภค ทางผู้ลงทุนในประเทศยังไม่แข็งแรง ก็อาจจะต้องการดอกเบี้ยต่ำอยู่ จะต้องไปดูเรื่องที่พิจารณาอย่างรอบคอบ ความเหมาะสม และผลดีผลเสียครับ

 

ManGuท่านรู้จักวัฒนธรรมจีนอย่างไรบ้าง?

Dr.Porametee :ผมไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งมาก แต่เคยได้ยินเรื่องของสุภาษิตจีนที่ชอบ คือเรื่องของหนทางไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นที่ก้าวแรก เป็นสิ่งที่ทำให้คนต้องมีความมุมานะ เพียรพยายาม เรื่องของการประสบการณ์สำเร็จอาจจะไม่ได้มาเร็ว ต้องตั้งใจทำ หมั่นเพียร คืดว่าเป็นสุภาษิตที่ดีมากครับ

ManGuตารางของประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทยในหนึ่งวันเป็นอย่างไร?

Dr.Porametee :บางวันจะมีประชุมเช้า หรือบางวันมีประชุมทั้งเช้าและบ่าย ไม่ค่อยแน่นอนครับ ถ้ามีเวลาว่างจะไปออกกำลังกายต่อ เรียนเทนนิส เตะฟุตบอล หรือว่าใช้เวลาว่างฟังเพลง อ่านหนังสือ ผมก็คิดว่าเป็นช่วงวัยเกษียณที่สมดุล เราก็ได้มีเวลาใช้เวลา ดูแลหรือว่าทำสิ่งที่ชอบบ้าง และยังได้ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำประโยชน์ให้กับสังคมครับ

Thank you.
Dr.Porametee Vimolsiri / ดร.ปรเมธี วิมลศิริ

Photographer : Chanokpohn Camnasak @Mickeyhighway_
Graphic Designer : Jamjuree Phetcharat @jam_2p
Coordinator : Natruja Mingmean @fahnrj
Column Writer : Yue Han / Zou SiYi @joy_zz97 / Patthanapong Polpiboon @plyyp / Natruja Mingmean @fahnrj

You can share this post!

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 237 (1st August 2022) สัมภาษณ์ ท่านสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุดของประเทศไทย คนที่16

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 235 (1st July 2022) สัมภาษณ์ คุณซี พฤกษ์ พานิช และ คุณนุนิว ชวรินทร์ เพริศพิริยะวงศ์ พรีเซนเตอร์สบู่ POYD Premium Bird Nest Soap และนักแสดงนำซีรีส์ “นิ่งเฮียก็หาว่าซื่อ Cutie Pie Series”