news-details

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 248 (15th January 2023) คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

แหล่งพลังงานที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม

——บทสัมภาษณ์ คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

แหล่งพลังงานเป็นเส้นชีพจรของมนุษย์บนโลกแห่งนี้ แต่ทว่าชีพจรเส้นนี้เป็นเส้นที่บอบบางเหลือเกิน ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2516 องค์กรที่ทำการส่งน้ำมันออกนอกประเทศของอาหลับได้ประกาศไว้ว่าห้ามทำการค้าขายน้ำมันให้กับประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลในสงครามยมคิปปูร์ จึงก่อให้เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับน้ำมันครั้งแรก ซึ่งในช่วงเวลาที่ห้ามทำการค้าก็ส่งผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 300% และวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ก็ยังทำให้เศรษฐกิจในประเทศทางฝั่งตะวันตกถดถอยลงด้วยเช่นกัน

หลังจากที่เกิดสงครามระหว่างประเทศรัสเซีย – ประเทศยูเครนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือวิกฤตการณ์ทางพลังงานที่กระทบไปยังทั่วโลก และวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ก็ส่งผลร้ายแรงขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังจากที่มีการทำลายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream จึงเป็นเหตุทำให้หลายประเทศในแถบยุโรปเกิดความยากลำบาก และราคาน้ำมันรถยนต์ในประเทศไทยก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน การที่มีราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นที่สูงก็ทำให้มีอัตราเงินเฟ้อสูงตามมาด้วย และยังก่อให้เกิดภาวะความยากจนในอีกหลายครอบครัว โรงงานบางแห่งต้องลดการผลิตหรือปิดตัวลง การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจก็ชะลอตัว ทำให้บางประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความดันทางการเมือง และผู้นำทางด้านแหล่งพลังงานของประเทศอย่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ก็ยังคงที่จะยืนหยัดสู้กับสถานการณ์ที่วุ่นวายในครั้งนี้ด้วย

ในปี 2563 ตลาดน้ำมันทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและสงครามราคาน้ำมันรัสเซีย – ซาอุดีอาระเบียจึงทำให้เกิดความผันผวนอย่างมาก ทั้งราคาน้ำมันและปริมาณความต้องการต่างก็ลดลงอย่างรวดเร็วจนทำให้บริษัท ปตท. จำกัดPTTขาดทุนทะลุถึง1.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ก่อตั้ง "ศูนย์ ปตท." ขึ้นมาแล้ว ทางปตท. เองก็ได้ใช้ "ทฤษฎี 4R" เพื่อเปลี่ยนแปลงจากขาดทุนเป็นกำไรในเวลาเพียงไม่กี่เดือน

เนื่องปริมาณแหล่งพลังงานในประเทศไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการให้เพียงพอต่อผู้คนในประเทศได้ จึงต้องพึ่งพาระยะเวลาที่ยาวนานในการนำเข้ามาของแหล่งพลังงาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ไม่น้อย แต่ก็ไม่ขาดแคลนแหล่งพลังงานอย่างรุนแรงเหมือนกับทางฝั่งของทวีปยุโรป ส่วนบริษัท ปตท. จำกัดก็เป็นหน่วยงานที่ชื่อเสียงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ PTT. ในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่เส้นทางของ พลังงานสะอาดและส่งเสริม "การปฏิวัติเขียว" ในภาคพลังงานของประเทศไทยโดยการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมและยกระดับอุตสาหกรรมของตนเอง

ถ้าหากว่าแหล่งพลังงานเปรียบเสมือนสายเลือดของประเทศ ดังนั้นปตท.ก็ถือว่าเป็นหัวใจของประเทศไทยด้วยเช่นกัน บุคคลในหน้าปกนิตยสาร @ManGu เล่มนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีฉายาว่าเป็น "ผู้บริจาคโลหิต" ให้แก่เศรษฐกิจไทย

ManGu : ทราบมาว่าท่านจบปริญญาโท เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตและ เหตุใดท่านถึงเลือกเรียน หางานนี้ อยากให้ท่านช่วยเล่าประวัติคร่าว ๆ หน่อยค่ะ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : เล่าก่อนว่าจบปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาโยธา) จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หลังเรียนจบ ก็เริ่มทำงานด้านวิศวฯ ที่บริษัทเอกชน ประมาณ 2 ปี ก่อน เข้าทำงามที่ ปตท. ในปี 2532 เริ่มทำงานที่ ปตท. เป็นวิศวกร หน่วยงาน แผนภาวะตลาดและกำหนดราคา ธุรกิจน้ำมัน ระหว่างทำงาน ก็เรียนต่อปริญญาโทไปด้วย เลือกเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ เพราะทำให้เราเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจ Macro/Microeconomics กลไกตลาด demand supply การบริหารธุรกิจ ลูกค้า และการตลาด ช่วยเสริมเพิ่มเติมจาก logic ตรรกะ ที่เราได้จากการเรียนวิศวฯ ได้ดี ซึ่งทุกวันนี้ยังใช้ความรู้พื้นฐานที่เรียนมาได้ในการบริหารงานทั้งทางวิศวฯ และเศรษฐศาสตร์

 

ManGu : ท่านยังได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ณ ตอนนั้นท่านได้รับทุนศึกษาต่อเกี่ยวกับด้านได้

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ระหว่างทางานที่ ปตท. ได้รับทุนการศึกษาจาก British Council ไปเรียนด้านการบริหาร จัดการธุรกิจปิโตรเลียม สาขา Diploma of Petroleum Management, College of Petroleum Studies, Oxford University, UK


ManGu : ในช่วงแรกการเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) มีปัญหาและอุปสรรคใดบ้างที่ท่านได้พบเจอ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ในช่วงแรกของการเข้ารับตำแหน่ง ปี 2563 กลุ่ม ปตท. เผชิญผลกระทบที่เรียกว่า 'Double Effects' ทั้งจากปัญหาราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวน โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 2 ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลยต่ำกว่า 30 เหรียญสหรัฐฯ/ บาร์เรล เป็นการลดลงต่อเนื่องมาจากสงครามราคาน้ำมันและมาถูกซ้ำเดิมจากภาวะการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลทำให้ราคาและความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกลดลงอย่างหนัก สภาพกาดำเนินธุรกิจในขณะนั้นมีความท้าทายของระบบเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรง ซึ่งส่งผลกระทบไปยังธุรกจิต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจพลังงานทั่วโลก วันที่รับตำแหน่ง คือช่วง พ.ค. 2563 ปตท. เพิ่งประกาศปิดงบไตรมาส 1 กำไรติดลบขาดทุน 1,544 ล้านบาท เป็นครั้งแรกของ ปตท. เราเรียกทีมผู้บริหารกลุ่ม ปตท. จัดตั้ง PTT Group Vital Center ทุกบริษัทในกลุ่มมาระดมความคิดและบริหารวิกฤตโดยนำแนวคิด 4Rs มาประยุกต์ใช้บริหารจัดการ

1. Resilience การปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดย

✓ สร้างความปลอดภัยให้พนักงาน จากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเราดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ให ้ work from home และจัดพื้นที่ lock up ให้สำหรับพนักงานปฏิบัติการที่ operation สำคัญ เช่น โรงแยกก๊าซฯ คลังน้ำมัน

✓ ประเมินสุขภาพองค์กร รักษาสภาพคล่อง และจัดทำ Stress test ทดสอบกรณี scenarioต่างๆ

✓ ลด-ละ-เลื่อน ค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น opex saving 21,000 ล้านบาท และจัดความสำคัญของการลงทุน ✓ ทำ group optimization ตั้งแต่ต้นน้ำไปปลายนาใน value chain ปรับปรุงกระบวนการ crude planning (เช่น ลดการผลิตน้ำมันอากาศยานลง จากสถานการณ์ การเดินทางที่ลดลง) และ re-optimization

2. Restart เตรียมความพร้อมในการนำธุรกิจ พนักงาน ลูกค้าและคู่ค้ากลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดและรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ให้ได้

✓ ช่วยลูกค้าไปด้วย เช่น ขยาย credit term วงเงิน 1,660 ล้านบาท และลดค่าปรับการจ่ายเงินล่าช้า

✓ ออกหุ้นกู้เพื่อรักษาเงินสด โดยยังคงรักษาระดับเครดิตเรตติ้งไว้ได้เท่ากับเครดิตเรตติ้งของประเทศ

3. Re-imagination ในขณะเดียวกันเราจะต้องเตรียมออกแบบธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็น New normal ทั้งในแง New Business, New Business Model และ New Way of working

4. Reform จัดโครงสร้างองค์กรและธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคตและพร้อมรองรับทุกสภาวะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกทุกเมื่อ

จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ผลประกอบการของกลุ่ม ปตท. พลิกจากติดลบในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 กลายเป็นบวกในไตรมาสที่ 2 และสิ้นปี 2563 มีกำไรสุทธิประมาณ 37,000 ล้านบาท ท่ามกลางการประสบกับภาวะขาดทุนของบริษัท ชั้นนำด้านพลังงานจำนวนมากทั่วโลก

 

ManGu : การสานต่อนโยบายการแยกธุรกิจนํามันออกมาจาก ปตท. มาเป็นบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) หรือโออาร์ เพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้นั้น มีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้างและใช้ระยะเวลานานมากไหมคะ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : เดิมธุรกิจ้ำมันเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งที่อยู่ใน บมจ. ปตท. โดยในปี 2558 คณะผู้บริหาร ได้มีความคิดที่จะแยกหน่วยธุรกิจนี้ออกจาก ปตท. เพราะเป็นหน่วยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้านํ้ามันกับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบการดำเนินธุรกิจผล ประกอบการแยกกัน และเพื่อให้ธุรกิจมีศักยภาพและความคล่องตัวสูงขึ้น โดยกระบวนการที่จะแยกหน่วยธุรกิจนํามันออกจาก ปตท. เริ่มต้นเมื่อปี 2559 เมื่อ คณะกรรมการ ปตท. มีมติให้แยกหน่วยงานธุรกิจน่ามันออกจาก ปตท. จึงได้ปรับ โครงสร้างธุรกิจด้วยการโอนธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องของหน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. ให้กับ OR เสร็จสิ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 การดำเนินการต้องใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากธุรกิจน้ามันอยู่คู่กับ ปตท. มากว่า 40 ปี ต้องมีกระบวนการโอนสัญญาและใบอนุญาต การดาเนินการเปลี่ยนคู่สัญญาทั้งของ พนักงาน 1,500 คนและเดินสายสื่อความทำความเข้าใจกับกับดีลเลอร์ปั๊มน้ำมันประมาณ 1,600 ราย พาร์ตเนอร์ของร้านกาแฟอเมซอน และบรรดาซัพพลายเออร์ ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งสัญญาทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 3 หมื่นฉบับคู่ค้า ต่อมา OR จึงได้เสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering : IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 โดยใช้วิธีการกระจายหุ้นแบบ Small-lot-first ที่โปร่งใสและเป็นธรรมทำให้มียอดจองซื้อหุ้นกว่า530,000 รายการ และเป็นหุ้น IPO ที่มีรายการจองซื้อหุ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ขแงตลาดทุนไทย จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “หุ้นมหาชน”

ManGu : จากผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทาง ปตท. ได้มีกลยุทธ์และปรับวิสัยทัศน์องค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มภาคพลังงานเทคโนโลยี และสังคมที่เปลี่ยนไป โดยวิสัยทัศน์ใหม่ของ ปตท. คือ “Powering Life with Future Energy and Beyond อยากทราบว่ามีความหมายหรือมีความสำคัญทางด้านใดบ้าง

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ปตท. เราได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ในรอบ 15 ปี “Powering Life with Future Energy and Beyond หรือ ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต” ซึ่งจะสังเกตได้ว่าวิสัยทัศน์ใหม่นี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน

- Powering Life บอกจุดมุ่งหมาย (Purpose) ของบริษัทที่จะดำเนินธุรกิจที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน สังคม และ สิ่งแวดล้อม

- Future Energy and Beyond บอกทิศทางการเติบโต (Strategic Positioning) กลุ่ม ปตท. จะมุ่งพัฒนาและต่อยอดธุรกิจด้วยการแสวงหานวัตกรรม เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานแห่งอนาคต อาทิ พลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร พลังงานไฮโดรเจน และรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าธุรกิจ พลังงาน อาทิ ธุรกิจ Life science (ยา nutrition เครื่องมือ/เทคโนโลยีทาง การแพทย์) ธุรกิจ Mobility and Lifestyle ธุรกิจ Infrastructure and Logistics ธุรกิจ High value business และธุรกิจ AI-Robotics-Digitalization เพื่อสอดรับกับบริบทการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก แนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์การพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด และรองรับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

โดยการปรับวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ นอกจากจะตอบรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแล้ว ปตท. ต้องการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกอีกด้วย

 

ManGu : ปตท. มีการปรับตัวในเรื่องของพอร์ดการลงทุน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มโอกาส ทางธุรกิจให้กับธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และผลักดันให้เกิด New S-Curve กับประเทศ นอกจากธุรกิจหลักของ ปตท. แล้ว ยังมีการมุ่งเน้นที่ธุรกิจใหม่ใดบ้าง

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ปตท. ตั้งเป้าหมายภายในปี 2030 กลุ่ม ปตท. จะลงทุนธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงานสะอาด และผลักดัน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของประเทศไทย (New S-Curve) ปรับพอร์ดการลงทุนในช่วง 10 ปี (2021-2030) ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในอนาคต โดย 68% ของงบลงทุนทั้งหมดจะใช้ใน Hydrocarbon Business และอีก 32% จะเน้นลงทุนในธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย Future Energy 15% และ Beyond 17% สำหรับธุรกิจใหม่ตามวิสัยทัศน์ ได้ดำเนินการไปแล้ว อาทิ

1. ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy) ประกอบด้วย

1) ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ตั้งเป้าหมายการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 12 GW ภายในปี 2030 โดยในช่วงที่ผ่านมาได้ ลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ GPSC เข้าถือหุ้น 41.6% ในบริษัท Avada Energy Private Limited เพื่อทำตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศอินเดีย และ เข้าถือหุ้น 25% ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในประเทศไต้หวัน เพื่อต่อยอดและสร้างความชำนาญนำเทคโนโลยีมาใช้

2) ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ดำเนินการผ่าน บริษัท อรุณ พลัส จำกัด โดย เข้าทำธุรกิจ EV Value Chain แบบครบวงจร มีการร่วมกับ Foxconn จัดตั้งบริษัทร่วม ทุน HORIZON PLUS สร้างโรงงานฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่สามารถออกสู่ตลาดได้ขั้นแรก 50,000 คันต่อปี ในปี 2567 รวมทั้งดำเนินธุรกิจสถานีอัดประจุ และธุรกิจให้เช่ารถ EV ผ่านแอพพลิเคชั่น EVme โดยมีเป้าหมายจำนวนรถพร้อมให้บริการ 700 คัน ภายในปี 2565 เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้และสร้างให้เกิด Ecosystem ในประเทศ

3) ธุรกิจกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เปิดตัวโรงงานแบตเตอรี่ Semi- Solid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเทคโนโลยีของ 24M โดยมีกำลังการผลิตเริ่มต้น 30MWh รวมทั้งยังมีความร่วมมือกับ CATL ในการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ในภูมิภาคอาเซียน

4) ธุรกิจระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Platform) ร่วมกับ WHAUP & SERTIS พัฒนาระบบ Smart Energy Platform เพื่อซื้อขายไฟฟ้าพลังงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและเปิดตัว ReACC ธุรกิจให้บริการซื้อ - ขายใบรับรองพลังงาน หมุนเวียนอย่างครบวงจร โดยปัจจุบัน ReACC มีการต่อยอดธุรกิจร่วมกับ EVme ในการออกใบรับรองพลังงานหมุนเวียน สำหรับลูกคำ EVme เฉพาะกลุ่ม Fleet ที่ใช้รถ EV ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% และเป็นพลังงานหมุนเวียน ที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสร้าง Ecosystem ให้การเข้าถึงพลังงานสะอาด เป็นไปได้ง่ายขึ้นไวขึ้นและมากขึ้น

2. ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน (Beyond Energy)

1) ธุรกิจวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ (Life Science) มีการลงทุนผ่าน บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด ที่ได้มีการดำเนินการลงทุนในธุรกิจยาธุรกิจอาหารและโภชนาการ (Nutrition) และธุรกิจเครื่องมือการแพทย์ ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศสนับสนุนประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนและความร่วมมืออุตสาหกรรมด้านสุขภาพในอนาคต

2) ธุรกิจเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Business) ต่อยอดจากธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งดำเนินการผ่าน GC อาทิ การเข้าซื้อกิจการ Allnex เพื่อต่อยอดธุรกิจ Coating Resins รวมทั้งมีการตั้งโรงงานพลาสติกชีวภาพครบวงจรในไทย โดยใช้เทคโนโลยี พลาสติกชีวภาพ อันดับหนึ่งของโลก

3) ธุรกิจ Mobility and Life style จะมี บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เป็นแกนนำหลัก มีการร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น

4) ธุรกิจ Logistics & Infrastructure พัฒนาการขนส่งของประเทศ อาทิ กลุ่ม กิจการร่วมค้า GPC ซึ่ง PTT Tank ร่วมถือหุ้นร้อยละ 30 ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 นอกจากนี้ ปตท. ยังชนะการประมูลและลงนาม สัญญาโครงการ Container Yard จังหวัดขอนแก่น

5) ธุรกิจ AI, Robotics and Digitalization ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงการผลิตจักรกลอัจริยะเพื่อส่งเสริมธุรกิจในเครือ โดยมีแกนหลัก คือ ปตท.สผ. และลงทุนผ่านบริษัทลูก อย่างบริษัท AI and Robotics Venture (ARV) เพื่อขยาย ธุรกิจหลักใน 4 ด้าน ได้แก่ หุ่นยนต์สำรวจตรวจสอบและซ่อมแซมอุปกรณ์ใต้น้ำ (Subsea) อากาศยานไร้คนขับ (Drone) การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และ ด้านสุขภาพ (Healthcare)

ManGu : กลุ่ม ปตท. ถือว่าให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเท่า ๆ กับการทำธุรกิจ อยากทรายว่าทางธุรกิจมีการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมไทยอย่างไรบ้าง

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ปตท. ให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเราจะดูแลความต้องการในขณะนั้น อย่างเช่นช่วงที่ผ่านมา ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่ม ปตท. ได้ดำเนินการ อาทิ

โครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. เข้ามาช่วยแก้ปัญหาโควิด-19 ตั้งแต่ ช่วงนั้นประเทศไทยขาดแคลนอุปกรณ์ อาทิ แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย โดย ปตท.จัดหาและมอบสนับสนุนโรงพยาบาล จัดตั้งโรงพยาบาลสนามครบวงจร End-to-Endและหน่วยคัดกรองโควิด-19 กลุ่ม ปตท.ได้ให้บริการตรวจคัดกรองเชื้อโควิดไปแล้ว138,284 คน ดูแลรักษาผู้ป่วย 14,228 คน ในระยะเวลา 9 เดือน รวมงบประมาณ 1,046 ล้านบาท

โครงการลมหายใจเพื่อน้อง ช่วยเหลือเยาวชนกว่า 60,000 คนที่เสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษาและจัดตั้งกองทุน รวมงบประมาณ 171 ล้านบาท

โครงการลมหายใจเพื่อเมือง สนับสนุนเป้าหมายของกรุงเทพมหานคร ในการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น โดย ปตท. จะร่วมปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นในพื้นที่ของ ปตท. และพื้นที่ของ กทม.

 

ManGu : ช่วงนี้มีรถ EV เข้ามาในปะเทศไทยจำนวนมากทาง ปตท. มีการวางแผนจะสร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV บ้างหรือไม่

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : จากที่ทราบว่า หนึ่งในธุรกิจใหม่ที่ ปตท. ให้ความสำคัญ คือ ยานยนต์ไฟฟ้า โดยได้ดำเนินการครบวงจรทั้ง Value Chain ดังนั้น ปัจจุบัน ปตท. ร่วมกับ 0R วางพื้นฐานด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ PTT EV Station เปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 115 แห่ง 147 เครื่องชาร์จ ครอบคลุม 41 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีทั้งที่ตั้งอยู่ภายใน PTT Station, สถานีบริการ NGV และ LPG รวมไปถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์อื่นๆ ของ OR มีเป้าหมายที่จะขยายสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ให้ครบ 450 แห่ง 500 เครื่องชาร์จภายในปี 2565 และ 7,000 เครื่องชาร์จภายในปี 2573 เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ  ประชาชนสามารถคุ้นหาสถานีชาร์จ, จองเวลาชาร์จล่วงหน้า และเปิด-ปิด การชาร์จและชำาระเงิน ผ่านแอพพลิเคชั่น EV Station PluZ ได้ (รองรับทั้ง iOS และ Android) นอกจากนี้ ปตท. ยังมี สถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า หรือ Swap & Goพร้อมให้บริการแล้ว 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ โดยนำร่องตลาดกลุ่มเดลิเวอรี่ เพื่อให้สลับแบตเตอรี่ได้ไว ไปได้เร็ว เพียงใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น Swap & Go และสามารถสลับแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง ภายในเวลาไม่ถึง 3 นาที

ManGu : จากสถานกรณ์รัสเซีย-เครน ทำให้ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและยังส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น มีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : รัสเซียเป็นประเทศที่มีความสำคัญด้านพลังงาน ผลิตน้ำมันดิบประมาณ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน มากที่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ และส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสท 4-5 ล้านบาร์รลต่อวัน มากที่สุดอันดับ 2 ของโลกเช่นกั้น นอกจากนี้ รัสเซีย ยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติใหญ่ป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ และส่งออกก๊าซธรรมชาติประมาณ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี (มากเป็นอันดับ 1 ของโลก) โดย 40% ส่งออกไปยังยุโรปผ่านทางท่อ บริษัทน้ำมันหลายแห่งในยุโรปหลีกเลี้ยงการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย เพราะความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในมาตรการคว่ำบาตรซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต

สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน และเนื่องจากประทศไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ (นำเข้าน้ำมันดิบ 92% และนำเข้า LNG 17%) การที่พลังงานราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพพื้นฐานในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม ปตท. ปานกลาง จากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ราคา LNG ที่เพิ่มขึ้นและ supply shortage รวมถึง GDP โลกที่ปรับลดลง และเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้ปฏิบัติภารกิจด้านการจัดการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรองรับความต้องการใช่ในประเทศอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานตามพันธกิจขององค์กร โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้เตรียมความพร้อมทั้งการจัดหาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและสามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง 

มาตรการที่ ปตท. ได้ดำเนินการ คือ การจัดหาน้ำมันดิบเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มปริมาณสำรอง และ ประสานงานกลุ่มโรงกลั่นของกลุ่ม ปตท. เก็บน้ำมันคงคลังในระดับสูงสุด รวมทั้งร้องขอคู่ค้าให้ส่งมอบน้ำมันที่ Max Volume ในทุกเที่ยวเรือ และมีการบริหารจัดการการขนส่งน้ำมันดิบ โดยนำระบบการติดตามการเดินเรือ (Vessel Tracking) มาใช้เพื่อให้เรื่อเดินทางตรงเวลารวมถึงมาตรการเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันตามกฎหมายของภาครัฐ และมาตรการประหยัดพลังงานที่ช่วยลดการนำเข้า เพื่อสำรองน้ำมันของประเทศได้อีกทางหนึ่งโดย ปดท. มีการรณรงค์การประหยัดพลังงาน ผ่าน campaign "ก๊อดจิชวนใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด" โดย ปตท. ได้ร่วมแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานกว่า 17,800ล้านบาท อาทิ

✓สนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกรณีพิเศษจำนวนเงินรวม 3,000 ล้านบาท

✓ ให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นร้านค้หาบเร่ แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

✓ การตรึงราคาขายปลีกช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้รถ NGV ส่วนบุคคล และผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

✓ บรรเทาภาระต้นทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ขยายเวลาการชำระเงิน

✓ ชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีก

 

ManGu : หากสถานการณ์โควิดปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทาง ปตท.จะมีการขยายตลาดไปยัง ประเทศจีนบ้างหรือไม่

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : การขยายธุรกิจในต่างประเทศเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการเติบโตในอนาคต ของกลุ่ม ปตท. ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มี เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมถึงมีความใกล้เคียงทางสังคมและวัฒนธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย กลุ่ม ปตท. มีแนวทางการดำเนินนโยบายขยายตลาดในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องตามสภาวการณ์ทางตลาดที่เอื้ออำนวย อีกทั้งยังมุ่งเน้นการแสวงหาโอกาส ทางธุรกิจ และร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ

ปัจจุบันกลุ่ม ปตท. มีการดำเนินธุรกิจและลงทุนในประเทศจีน อาทิ

✓ ปตท. โดยหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทน ณ นคร เซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของโลก (Global Trading Hub) เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ

✓ OR มีบริษัท PTTOR CHINA (Shanghai) Company Limited เพื่อดำเนินการนำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ปตท. และดำเนินธุรกิจ Café Amazon ใน ประเทศจีน อีกทั้งแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจในเครือ OR ในประเทศจีน ตลอดจนมองหาธุรกิจใหม่ (New S-Curve) ให้กับบริษัทในกลุ่ม โดยในปี 2564 ได้เปิดศูนย์บริการมาตรฐานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants แห่งแรกที่เมือง คุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และเปิดร้าน Café Amazon ในบริเวณจุดพักรถ บนถนนไฮเวย์ป็นแห่งแรกของประเทศจีน ซึ่งเชื่อมโยงการเดินระหว่างเมืองหนานหนิงและเมืองรองอื่นๆ ในมณฑลกวางสีเป็นต้น (ที่มา: OR One-Report)

✓ Nuovo+ (โดยการจัดตั้งร่วมกันระหว่าง ปตท. และ GPSC) เข้าลงทุนโดยการเพิ่ม ทุนในบริษัท Anhui Axxiva New Energy Technology Co.,Ltd. (AXXIVA) ของจีน ซึ่งประกอบธุรกิจโรงงานผลิตแบตเตอรี่ กำลังการผลติ 1 GWh ตอ่ปี โดยใช้เทคโนโลยีจาก 24M Technologies Inc. ซึ่งเป็นไปตามแผนกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทเพื่อต่อยอดเทคโนโลยีและเป็นฐานในการสร้างรายได้จากธุรกิจในรูปแบบ ใหม่ที่เป็น New S-Curve รองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้า ในอนาคต

ManGu : ในปี 2021 และปีนี้ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 15 คนไทยที่ทรงอิทธิพลที่สุด รวมทั้ง เป็นความหวังใหม่ในการเปลี่ยนอนาคตของประเทศไทย ท่านมีความรู้สึกอย่างไรบ้างคะ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ผมมีความรู้สึกเป็นเกียรติ ในฐานะที่เป็นผู้นำองค์กรที่มีพันธกิจในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ปตท. ได้ปรับตัวเองจากบริษัทพลังงานแห่งชาติก้าวสู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ ขยายการลงทุนสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผมมีเป้าหมายในการทำงานเป็น CEO ของ ปตท. ที่จะขับเคลื่อน ปตท. ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และ aspiration ที่วางไว้ทั้ง Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต และ Powering Thailand’s Transformation โดยมุ่งหวังที่จะทำให้ ปตท. เป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าว ผ่านการเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ทุกภาคส่วน มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันนของประเทศพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิติของคนไทย เราจะได้เห็นธุรกิจใหม่ๆ จาก ปตท. ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ และสร้างอุตสาหกรรม New S-Curve ใหม่ให้กับประเทศ และเป็นองค์กรที่ยังคงยึดมั่นภารกิจในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศต่อไป และเราก็ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมและชุมชนด้วย ปตท. เป็นองค์กรใหญ่ มีกำลังซึ่งสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้

 

ManGu : ในช่วงเวลาว่างงานงานอดิเรกของท่านคืออะไร

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : เวลาว่าง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่กับ ครอบครัว ดูภาพยนตร์ ซึ่งนอกจากคลายเครียดแล้ว เราก็ได้อัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ไปด้วยและก็ทำกิจกรรมกับครอบครัว ไปเที่ยวพักผ่อน ปลูกต้นไม้และพยายามหาเวลาออกกำลังกายมากขึ้น

ManGu : ท่านมีปรัชญาไทยหรือจีนที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของท่านบ้างไหมคะ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ไม่ได้ยึดปรัชญาของใครเป็นพิเศษ ส่วนตัวก็จะเป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่บวก เวลาเราเจอปัญหาทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน จะได้ไม่จมอยู่กับปัญหา แต่มองปัญหา มอง ความท้าทาย เป็นโอกาสในการปรับตัว ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ – มองปัญหาให้ออก และแก้ปัญหาอย่างเข้าใจ ใช้ logic ในการตัดสินใจ  ปรัชญาจีนที่ชอบซึ่งเหมาะกับช่วงความไม่แน่นอนการบริหารจัดการในช่วงนี้ได้ดี “เกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้ม แต่อยู่ที่เราลุกขึ้นทุกครั้งที่เราล้มต่างหาก” (ขงจื๊อ นักปรัชญาชาวจีน)

 

ManGu : ปีนี้ครบรอบ 10 ปีของนิตยสาร @ManGu อยากให้ท่านอวยพรกับทางนิตยสาร รวมถึงฝาก อะไรสักเล็กน้อยถึงลูกค้าชาวจีนและผู้อ่านนิตยสารฉบับนี้หน่อยค่ะ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ : ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสที่นิตยสาร @ManGu ครบรอบ 10 ปี และขอส่งความปรารถนาดีและเป็นกำลังใจให้กับผู้บริหาร ทีมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านในการทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ทำให้ชาวจีนได้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย และ ยังเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเชิงท่องเที่ยว เนื่องจากชาวจีนจำนวนมากทำงาน ใช้ชีวิตท่องเที่ยว ศึกษาและทำธุรกิจในประเทศไทย สุดท้ายนี้ ผมขออวยพรให้นิตยสาร @ManGu ประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป และ สร้างงสรรค์สิ่ง ดีๆ อยู่คู่กับ สังคมไทยไปอีกยาวนาน และร่วมกันผลักดันความร่วมมือ ระหว่างกันซึ่ง จะทำให้มิตรภาพระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยแน่นแฟ้นมากขึ้น

 

Thank You.

Auttapol Rerkpiboon / คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์

 

Graphic Designer : Satamed Kunawattana @Pdillustrator

Coordinator / Interviews : Natruja   Ming @fahnrj

Column Writer : Zousiyi @joy_zz97 ;Sheldon Chan @sheldonchan1116 

You can share this post!

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 249 (1st February 2023) คุณภัคคณวัฒน์ เหมะธนานันท์ ประธานบริษัท บราเทอร์ โกลบอล จำกัด

MANGU Cover Story Issue 247 (1st January 2023) คุณ ไช่ เสี้ยวซิง (Cai Xiaoxing) จากคนธรรมดาสู่นักธุรกิจหัวกะทิแห่งฝูเจี้ยน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซิงไท่ เทรดดิ้ง จำกัด (Miniso Thailand)