news-details

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 252 (15th March 2023) พบกับบทสัมภาษณ์ คุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย

“ผู้กล้า” พิพัฒน์:ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสําเร็จอยู่ที่นั่น

บทสัมภาษณ์ คุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย

พิพัฒน์ยอมรับว่าตนเองเป็น "คนที่มีชะตากรรมที่โชคร้าย" ในปี พ.ศ. 2519 ช่วงวัยที่เขากำลังศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย และพบกับ "โศกนาฏกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" 20 ปีต่อมา การนำเข้าน้ำมันของครอบครัวเพิ่งเริ่มขยายธุรกิจ และพบกับ“วิกฤตต้มยำกุ้ง”ในปี พ.ศ. 2540 ธุรกิจเขาล้ม กู้เงินธนาคาร และหุ้นส่วนประเทศเกาหลีใต้ล้มละลายในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน เขาใช้เวลา 5 ปี กว่าบริษัทจะฟื้นตัว

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2000 ปีแห่งการเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ พิพัฒน์และภรรยาก้าวเข้าสู่วงการทางการเมือง ไม่นานก็พบกับการรัฐประหาร การเดินเข้าสู่บทบาททางการเมืองเริ่มต้นอย่างแสนยากลำบาก "คนที่มีชะตากรรมที่โชคร้าย" พิพัฒน์ได้ไปสู่จุดสูงสุดใหม่ในชีวิตคือการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทยที่ต้องเผชิญ อย่างไรก็ตามพิพัฒน์ไม่เคยยอมแพ้ต่อโชคชะตา ความพลิกผันที่เขาประสบตลอดหลายปีที่ผ่านมา และมรสุมที่เขาเอาชนะได้ ทำให้ชายจากแดนใต้คนนี้มีความตั้งใจที่จะเผชิญกับความท้าทายแบบสู้ไม่ถอย และเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่สิ้นหวัง

ดังนั้น เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยประสบกับหายนะ พิพัฒน์จึงไม่สิ้นหวัง ไม่ปล่อยผ่าน และไม่อดทนรอคอยการฟื้นตัว พิพัฒน์รู้ว่าท่ามกลางวิกฤตนี้ ผู้ที่ไม่เคยหยุดนิ่งเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้  ดังนั้นเขาจึงไม่รอให้วิกฤตสิ้นสุดลง แต่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วยการช่วยเหลือตนเองอย่างกล้าหาญ เพื่อต่อสู้กับหายนะแห่งโชคชะตา

ในช่วงเวลาที่รุนแรงที่สุดของการแพร่ระบาดของโควิด-19 พิพัฒน์ได้ส่งเสริมการดำเนินงานของ "โครงการ Phuket Sandbox" เยี่ยมชมภูเก็ตด้วยการลงพื้นที่จริง ฟังเสียงของประชาชน และกำหนดแผนงานการช่วยเหลือด้วยตนเอง  ในที่สุดภายใต้การนำของพิพัฒน์ ประเทศไทยได้ใช้พลังทั้งประเทศเพื่อเปลี่ยนภูเก็ตเป็นผู้นำ ในการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นผู้นำในการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภูเก็ตที่ซบเซากลับคืนมาอีกครั้ง และเปิดกว้างให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในยุคหลังโรคระบาด สร้างความสำเร็จเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน

พิพัฒน์กล่าวว่า: “บรรพบุรุษของคนไทยเลือกทำเลที่ตั้งได้เก่งจริงๆ ประเทศไทยมีอากาศที่ดี ทิวทัศน์สวยงาม ไม่มีภัยธรรมชาติร้ายแรง มีแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก” “กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไม่ได้ด้อยกว่ากรมการท่องเที่ยวของประเทศใด ๆ ในโลก”

หลังจากผลกระทบของการแพร่ระบาด อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยความพยายามร่วมกันของพิพัฒน์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวหลายพันคน ประเทศไทยคาดว่าจะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 อาจแตะถึง 25 ล้านคน  และเป้าหมายของพิพัฒน์สูงถึง 30 ล้านคน กลับสู่ 75% ของช่วงก่อนระบาดในปี 2562!

คนคนหนึ่ง ประเทศประเทศหนึ่ง ไม่สามารถเลือกชะตากรรมของตนเองได้ ต้องเผชิญภัยพิบัติ ความทุกข์ยากที่คาดไม่ถึงทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตาม เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากแต่ยังคงไม่ลืมความตั้งใจเดิมของตน และทำงานอย่างหนัก สุดท้ายแล้วจะได้รับผลลัพธ์ตามที่ตนตั้งใจ ไม่นานก็จะหลุดพ้นจากความยากลำบากทั้งปวง และบรรลุเป้าหมายอย่างงดงามและน่าตื่นเต้นที่สุด

ค่ำคืนอันแสนมืดมิดและยาวนาน จงเดินไปทางทิศตะวันออก แล้วรุ่งอรุณและฤดูใบไม้ผลิจะมาหาคุณในที่สุด

ManGu: จากประวัติส่วนตัวของท่าน ท่านได้ลองทำธุรกิจมาหลายสาขาตั้งแต่ช่วงปีแรก ๆ อยากให้ท่านเล่าถึงธุรกิจให้ฟังสักเล็กน้อย?

พิพัฒน์: คุณแม่ของผมทำอาชีพค้าขาย ดังนั้นเมื่อผมยังเด็ก ผมจะไปตลาดกับคุณแม่เพื่อขายของ ในปี พ.ศ. 2519 เกิดรัฐประหารที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย ผมจึงกลับบ้านเพื่อช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำธุรกิจ ขณะนั้นเราทำการค้าชายแดนไทยกับมาเลเซีย โดยนำปลาทูเค็มนำไปขายที่เยาวราชในกรุงเทพฯ หลังจากนั้น จึงเริ่มทำธุรกิจน้ำมันเครื่องเรือประมง และร่วมมือกับบริษัท Sunkyong Petroleum Corporation ของเกาหลีใต้

ขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยสูงมากเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาท และการค้าอย่างต่อเนื่อง หลังการนำเข้าทำให้บริษัทเชื้อเพลิงหลายแห่งล้มละลาย เป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยนำเข้าที่ต่ำทำให้น้ำมันสามารถขายให้กับบริษัทอื่นได้ หลังจากนำเข้าเรามองเห็นโอกาสในเรื่องนี้ เมื่อต้นปี 2540 บริษัทของเราได้เพิ่มปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากเรือแค่หนึ่งลำ เป็นสองลำ และจำนองปั๊มน้ำมันไว้กับธนาคารเพื่อออกตราสารเครดิต จากนั้นจึงนำเข้าน้ำมันจากบริษัท Sunkyong Petroleum Corporation ของเกาหลีใต้

 

ManGu: ท่านพบกับ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ในปี พ.ศ. 2540 ท่านมีวิธีการจัดการปํญหาเราเหล่านั้นอย่างไร?

พิพัฒน์: เรายังหนีวิกฤตการเงินไม่สำเร็จ ตอนนั้นบริษัทของเราใกล้จะล้มละลายและอยู่ในขั้นของการชำระหนี้ เพราะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของบริษัทคือธนาคารศรีนครซึ่งล้มละลายเช่นกันในช่วงวิกฤตการเงิน หนี้ของเราจึงถูกโอนไปยังธนาคารอื่น คือธนาคารแห่งประเทศไทย

ผมอยากพยายามกับมันอีกสักนิด แต่หุ้นส่วนคือ บริษัท Sunkyong Petroleum Corporation ของเกาหลีใต้ ก็ล้มละลายเช่นกัน ขณะนั้นเราได้รับเงินทุนสำรองจากผู้ถือหุ้นเท่านั้น ด้วยการสนับสนุนของพวกเขา เราจึงค่อยๆ เริ่มปรับโครงสร้างธุรกิจทีละขั้นตอนผ่านการซื้อน้ำมันและขยายธุรกิจของเรา และวิกฤตเศรษฐกิจค่อยๆลดลง

จนกระทั่งปี 2544 เราเริ่มต้นทั้งหมดใหม่อีกครั้ง ในเวลานั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้ามามีอำนาจ เขารู้วิธีทำธุรกิจ และวิธีส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ในเวลานั้น บริษัทของเราฟื้นตัวขึ้น เพื่อให้บริษัทดำเนินต่อไป เราจึงกู้เงินจากธนาคาร ปี 2545 ในที่สุดบริษัทของเราก็สามารถกำจัดสถานะขาดทุนและเริ่มทำกำไรได้ตามปกติ ผมจำได้ว่าเราพยายามอย่างมากที่จะหาเงิน ผมกู้เงินมาทุกที่ และสุดท้ายก็ชำระหนี้บริษัทได้หมดภายในกำหนด หากจำไม่ผิดคือ 900 ล้านบาท

ปี 2546 ผมอายุ 48 ปี ผมคิดว่าผมควรถอยออกมาจากบริษัท ผมจึงเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อประกาศลาออกจากบริษัทและเลือกผู้จัดการคนใหม่

ManGu: เส้นทางธุรกิจของท่านผ่านประสบการณ์มามากมาย แต่จิตใจที่ไม่ย่อท้อของท่านเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก!

พิพัฒน์: ผมเป็นคนที่สู้ชีวิตจนถึงที่สุด ผมไม่เคยกลัวความล้มเหลว และผมจะไม่รู้สึกเศร้าหรือหดหู่เพราะความล้มเหลวเล็กๆ น้อยๆ เมื่อคุณล้มคุณก็แค่ลุก ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร

พ่อแม่ของผมมักให้กำลังใจผมว่า "ไม่ต้องกลัว สู้ต่อไปลูก!" พวกเขาทำให้ผมเข้าใจว่าไม่ว่าจะประสบกับความพ่ายแพ้ใด ๆ ผมต้องลุกขึ้นและก้าวต่อไป นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมถึงมีวันนี้ ในขณะเดียวกันผมก็โชคดีที่มีน้องๆคอยช่วยทำธุรกิจ เรามักจะคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ครอบครัวเราฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

 

ManGu: ท่านข้าสู่วงการทางการเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่?

พิพัฒน์: ประมาณปี 2541-2542 เมื่อบริษัทผมล้มละลาย ผมเข้าเป็นสมาชิกพรรคและเป็นผู้บริหารในพรรคราษฎร พลอากาศเอก สมบุญ ระหงส์ หัวหน้าพรรคราษฎร เป็นพี่ที่ดูแลผมเป็นอย่างดี เนื่องจากผมมาจากภาคใต้ มีเพื่อน ทีมงาน และธุรกิจมากมายในภาคใต้ของประเทศไทย เขาไม่มีคนคุ้นเคยที่นี่ ดังนั้นเขาจึงต้องการให้ผมไปดูแล

น่าเสียดายที่เราแพ้การเลือกตั้งในปี 2544 เพราะเราไม่มีสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคใต้แม้แต่คนเดียว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เพื่อนร่วมงานจากพรรคพวกได้ชวนผมช่วยสนับสนุนดูแลที่จังหวัดสตูลและพัทลุงทางภาคใต้ของประเทศไทย เนื่องจากภรรยาของผมมาจากจังหวัดพัทลุงและผมมีธุรกิจมากมายในจังหวัดสตูล ผมจึงตกลงที่จะช่วยเขา แต่ก็ไม่สบความสำเร็จเช่นกัน พอแพ้ผมก็อยู่ต่อมา และเลิกเล่นการเมือง จึงอยู่เฉยๆในบทบาททางการเมืองจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้

ManGu: ภรรยาของท่านมีบทบาททางการเมืองด้วยหรือไม่?

พิพัฒน์: พูดตามตรง ภรรยาของผมไม่ใช่นักการเมือง เนื่องจากบทบาททางการเมืองของผมก่อนหน้านี้ไม่ค่อยราบรื่นนัก แต่เธอเข้มแข็งมาก มีโอกาสได้ลงสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2549 และประสบผลสำเร็จ น่าเสียดายที่หลังจากได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้เพียง 5 เดือน ได้ถูกยึดอำนาจและหยุดกิจกรรมทางการเมือง ต่อมาได้เข้าร่วมพรรคภูมิใจไทยซึ่งยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้

 

ManGu: การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย ถือเป็นงานที่ใหม่ นี่คือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับท่านหรือไม่?

พิพัฒน์: จริง ๆ แล้ว ผมไม่เคยทำงานราชการมาก่อน ผมอยู่ในภาคการค้าตลอดชีวิต แต่ผมชอบท่องเที่ยวมาก พอเกษียณอายุตัวเองจากบริษัทปี 2546 ก็เริ่มเที่ยวทุกที่ พอได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็รู้สึกดีใจมาก สำหรับผม การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทยไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ ยกตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวทางภาคใต้ ลองหลับตาและลองนึกว่าที่ตรงไหนดี ที่ตรงไหนเป็นจุดอ่อน ผมมองออก

เมื่อมาอยู่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย ตัวตนผมเปลี่ยนไป ผมไม่ใช่นักธุรกิจเอกชนแล้ว บอกตามตรงว่าผมต้องเรียนรู้อีกเยอะ และยากมาก หลายสิ่งหลายอย่างไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ภาคธุรกิจเอกชนแสวงหาผลกำไรเท่านั้น ในขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่ดีและทำให้ประเทศมั่งคั่งผ่านการท่องเที่ยว

อีกอย่างที่ต้องพูดถึงคือบรรพบุรุษของไทยเก่งมาก ในการเลือกทำเลที่ตั้งของประเทศ ไม่ร้อนไม่หนาว ไม่มีภัยธรรมชาติร้ายแรง มีอุทยานธรรมชาติ น้ำตกและภูมิประเทศอื่นๆ สิ่งที่ควรกล่าวถึงมากที่สุดคือวิวทะเล เช่น พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย และสถานที่อื่น ๆ นี่คือจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยือน

การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยสามารถบรรลุผลสำเร็อย่างปัจจุบัน และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ผมสามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่ากรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่ได้ด้อยกว่ากรมการท่องเที่ยวของประเทศใด ๆ ในโลก หากไม่มีสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวของไทยคงไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้เช่นทุกวันนี้

ผมคิดว่าตัวเองโชคร้าย ผมเจอโรคระบาดโควิดหลังจากเข้ารับตำแหน่งเพียงห้าเดือน ซึ่งผมก็ไม่ได้โทษใคร เพราะมันเป็นภาวะของโลก ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือวิธีการจัดการกับมันและวิธีแก้ปัญหาในเวลาอันสั้น ผมต้องเรียนตรงๆว่าผมมีที่ปรึกษาที่ดี ในเรื่องของการท่องเที่ยว และผู้บริหารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย น้องๆตั้งแต่ผู้ว่าลงไป เก่งทุกคน ตรงนี้จึงทำให้เราสามารถฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ

ManGu: รัฐบาลไทยได้ออกนโยบายหลายอย่างเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว นโยบายใหม่ ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

พิพัฒน์: เป็นคนชอบคิด ขณะนั้นมีความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศของไทยอยู่ พยายามคิดเรื่อง Phuket Sandbox หัวหน้า ก็คืออนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งเป็นรองนายก ดูแลกระทรวงสาธารณสุข ท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ เพื่อนๆนักธุรกิจ สมาชิกพรรคประมาณ 100 คน และผมไปตรวจสอบที่ภูเก็ต

ตลอดสามวันในภูเก็ต เราไปเยี่ยมทุกหมู่บ้านและถามความคิดเห็นของคนในท้องถิ่น ตอนที่เราไปคือเดือนกันยายน 2563 และ 100 วันผ่านไปนับตั้งแต่เปิดประเทศในเดือนมิถุนายน 2563 ในช่วง 100 วันนี้ไม่มีการติดเชื้อในประเทศไทย ดังนั้นเราจึงรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดภูเก็ต และต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม คนท้องถิ่นในภูเก็ตไม่เต็มใจ เราจึงล้มเลิกแผน

จนถึงเดือนมีนาคม 2564 คนภูเก็ตบอกว่าไม่สามารถไปต่อได้ จึงขอให้เราช่วยเหลือ ขณะนี้ ผมจำแผนงานที่เสนอไปก่อนหน้านี้ได้ ผมจึงนำแผนงานเดิมกลับมาศึกษาใหม่ และรายงานต่อนายกรัฐมนตรี แผนงานใหม่นี้มีแผนจะเปิดเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะพีพี เกาะช้าง เกาะเสม็ดและอีกหลายๆเกาะ ท่านนกยกคิดว่าน่าจะเลือกสักแห่งเป็นเกาะนำร่อง ตอนนั้นมีโครงการSTV, โครงการ Villa Quarantine และโครงการ Golf Quarantine อยู่แล้ว เราจึงปรับตามแผนเหล่านี้ เราเชื่อว่า นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะไว้วางใจเราก็ต่อเมื่ออัตราการฉีดวัคซีนของคนไทยถึง 70% ในขณะนั้นการคมนาคมในการไปเกาะภูเก็ตทางบกสะดวกกว่าทางอากาศ และทางน้ำ ซึ่งเหมาะกับการนำร่อง ดังนั้น ภูเก็ตจึงเป็นผู้นำในการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 สำเร็จในอัตรา 70%

ตอนนั้นผมคิดว่าชื่อโครงการใหม่นี้ควรตั้งชื่ออะไร รอง ผู้กำกับการกองบัญชาการตำรวจจึงเสนอว่า โครงการใหม่นี้ควรชื่อว่า แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากซีรีส์เกาหลี ผมสงสัยเสมอว่าทำไมมันถึงเรียกว่า sandbox (กระบะทราย) ? ต่อมาผมจึงเข้าใจว่าแซนด์บ็อกซ์หมายความว่าเราทำอะไรก็ได้ให้อยู่ในกรอบที่เราทดลอง ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทดลองล้ม มันก็อยู่ภายในกระบะอยู่ในกรอบจำกัด ไม่มีกระจายออกไปข้างนอก เราสามารถควบคุมได้ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ Phuket Sandbox เราจึงเล่าความคิดนี้ให้ท่านนายกฟัง ท่านชอบแนวคิดนี้มาก จึงเป็นที่มาว่า วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ไปรับนักท่องเที่ยวชุดแรกที่เกาะภูเก็ต

 

ManGu: ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทยคนเดียวที่ประสบกับโรคระบาดครั้งใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติการณ์ ท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้คืออย่างไร?

พิพัฒน์: ใช่ ไม่มีประสบการณ์มาก่อนให้เรียนรู้ การแพร่กระจายของโรคระบาดใหม่ทั่วโลกส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทุกที่โดยเฉพาะประเทศไทย หลังโรคระบาดเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ทุกวันนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยค่อยๆ ฟื้นตัว ไม่ใช่แค่จุดแข็งของตัวเองแต่เป็นผลจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในภูเก็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย

ตอนเข้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผมตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผมสู้คนเดียวไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จได้โดยลำพัง เมื่อทุกคนรวมใจกันเท่านั้นจึงจะบรรลุความสำเร็จได้แน่นอน ในทางปฏิบัติ ต้องมีคนเขียนแผนงานให้ผม ผมไม่สามารถเขียนแผนเองได้ เพราะผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าภาคปฏิบัติผมทำให้พวกคุณได้ ผมลงปฏิบัติจริงทุกพื้นที่ นี่คือสิ่งที่ว่าทำไมเราถึงต่อสู้มา เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมเท่านั้นที่จะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ พูดตามตรงผมรู้สึกขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ทำงานอย่างหนักในทุกหน่วยงาน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนไทยที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือเราเสมอมา เป็นเจ้าบ้านที่ดี ใครมาเที่ยวที่ประเทศไทยก็จะเห็นได้ว่า เราต้อนรับ ยิ้มแย้มแจ่มใส บริการ มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อให้นักท่องเที่ยว นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมประเทศไทยถึงประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ผมขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ความร่วมมือและแรงสนับสนุน ของทุกคน ได้ส่งเสริมการฟื้นตัวและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ManGu: ท่านคิดว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวมากน้อยเพียงใด?

พิพัฒน์: ผมมั่นใจว่านักท่องเที่ยวที่เข้าไทยปีนี้จะทะลุ 25 ล้านคนแน่นอน เป้าหมายที่คาดหวังไว้คือมีนักท่องเที่ยวเข้ามาถึง 75% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 หรือ 30 ล้านคน และ 80% ของรายได้ในปี 2562 หรือ 2.4 ล้านล้านบาท เราจะพยายามอย่างหนักเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

 

ManGu: นักท่องเที่ยวจากบางประเทศบอกว่าอยากมาไทยก่อนที่นักท่องเที่ยวจีนจะมาไม่ใช่เพราะกลัวโรคระบาด แต่เพราะกลัวนักท่องเที่ยวจีนมาแล้วจะไม่มีที่เที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีน?

พิพัฒน์: เราขยายสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้วกว่า 270 แห่งทั่วประเทศ และเจรจากับการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจากทั่วประเทศว่าเมื่อนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยว อย่ารวมนักท่องเที่ยวไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง พยายามกระจายทุกคนไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทั่วประเทศ รับรองว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งจะไม่แออัดเหมือนที่เคยเป็นมาอย่างแน่นอน

สิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึงก็คือผมได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ที่ประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน – ไทยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สร้างสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย สะดวกสบาย ให้บริการการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ และให้ประสบการณ์ดีๆกับนักท่องเที่ยว เราขอขอบคุณรัฐบาลจีนเป็นอย่างยิ่งที่รวมประเทศไทยไว้ในรายชื่อประเทศนำร่องกลุ่มแรกสำหรับการท่องเที่ยวแบบกลุ่มนอกประเทศ รัฐมนตรี Hu Heping ยังได้แสดงความขอบคุณต่อประเทศไทย สำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างอบอุ่น และในขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือมา 3 ประการ ประการแรก ดูแลนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นอย่างดี สร้างสภาพแวดล้อมการเดินทางที่ปลอดภัย และสะดวกสบายสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเยือนประเทศไทย ประการที่สอง ช่วยดูแลนักท่องเที่ยวจีน อย่าให้โดน "หลอกลวง" เหมือนในอดีต ประการที่สาม ขอให้บริษัทท่องเที่ยวพานักท่องเที่ยวชาวจีนเที่ยวให้ได้ประสบการณ์ ลงพื้นที่ ลงรายละเอียดว่ามาเที่ยวประเทศไทย คุณได้อะไรกลับไป เช่นในเรื่องของประวัติศาสตร์ เรื่องของชุมชน คุณต้องให้ประสบการณ์กับนักท่องเที่ยว

ManGu: เมื่อเร็ว ๆ นี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าได้กลายเป็นปัญหาร้ายแรง ในเรื่องนี้ ท่านมีวิธีที่ดีในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่?

พิพัฒน์: ปัจจุบันผมยังหารือกับกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ ถ้าบุหรี่ไฟฟ้า จะห้าม ก็ต้องระบุว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าประเภทไหน ปัจจุบันมีบุหรี่ไฟฟ้าหลายประเภทเช่นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบของสารเคมี บุหรี่ไฟฟ้าที่มีใบยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้านั้นอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการเผาไหม้โดยไม่มีเปลวไฟ ซึ่งสามารถลดอันตรายจากไฟไหม้ในส่วนนี้ได้ แต่หากเป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบของสารเคมี เราไม่รู้ว่ามีส่วนประกอบของสารเคมีอะไรบ้างที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้น ไม่ว่าจะห้ามบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ "บุหรี่ไฟฟ้า" ยังคงต้องหารือกับกระทรวงสาธารณสุข

 

ManGu: หลังจากนี้หากนักท่องเที่ยวสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยจะถูกตำรวจจับหรือไม่?

พิพัฒน์: คนที่เดิมทีไม่สูบบุหรี่ อาจเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า ถ้าตำรวจจับนักท่องเที่ยวที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ทุกที่และปรับ จะไม่มีนักท่องเที่ยวคนใดอยากเดินทางมาเที่ยว แล้วขึ้นศาล แต่ในความเป็นจริงผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ถูกจับ หากพวกเขาไม่ได้ขายบุหรี่ไฟฟ้า เช่นเดียวกับผู้เสพยาเสพติดถูกส่งไปบำบัดเท่านั้น ในขณะที่ผู้ค้ายาเสพติดถูกส่งเข้าคุก ส่วนกฎหมายนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยแล้วสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้น ผมยังต้องหารือกับรองนายกฯ อนุทิน ซึ่งยังให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ในขณะนี้ ตอนที่ผมไปประเทศจีนยังมีการตั้งข้อสังเกตในส่วนนี้ ถึงตอนนี้ รัฐบาลไทยยังคงไม่ได้ระบุจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องนี้

ManGu: สุดท้ายนี้ นอกจากการทำงานแล้ว ท่านมีงานอดิเรกอะไรอีกไหม?

พิพัฒน์: โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบท่องเที่ยวและเล่นกีฬา เช่น ตกปลา ตีกอล์ฟ เดินป่า ฯลฯ หากเป็นกิจกรรมในเมือง ผมชอบชิมอาหารอร่อยๆ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้คลายความกดดันจากการทำงานได้บ้าง

 

Thank you.

คุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ / Phiphat Ratchakitprakarn

 

Photographer : Luttsit Thongbansai @bellr_blackroom

Graphic Designer : Natchaphol Jin Srijun @Banshy.j

Coordinator : Natruja Ming @fahnrj

Column Writer : YueHan / Zousiyi @joy_zz97 

 

You can share this post!

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 253 (1st April 2023) พบกับเจ้าของสไตล์แฟชั่นเรียบโก้ "หมู พลพัฒน์ อัศวะประภา" ASAVA Group

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 251 (1st March 2023) พบกับ คุณพจนา พะเนียงเวทย์ ตำแหน่ง กรรมการบริษัท และกรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพรสซิเดนท์อินเตอร์ฟูด จำกัด