news-details

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 255 (1st May 2023) พบกับบทสัมภาษณ์ "คุณวิเชียร พงศธร" ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทพรีเมียร์

นักธุรกิจสู่การทำงานเพื่อสังคม ผู้มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนให้สังคมไทยดีขึ้น
สัมภาษณ์ คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทพรีเมียร์

หากพูดถึงเส้นทางแห่งการสะสมทรัพย์และวิธีสร้างคุณค่าทางสังคมให้มากขึ้น เพื่อให้ได้รับความสุขภายในที่แท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการแสวงหาร่วมกัน ปัจจุบันในประเทศไทย บริษัท พรีเมียร์ กรุ๊ป มีธุรกิจหลากหลาย อาทิระบบสารสนเทศ พลังงานแสงแดด ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงแรม อาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าบริโภค รวมทั้งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาเส้นทาโร่ เติบโตมาหลายยุคหลายสมัย กลายเป็นขนมที่คนไทยคุ้นชินไปแล้ว

บนโลกที่เต็มไปด้วยโอกาสและการแข่งขันทางธุรกิจ การเข้าสัมภาษณ์บุคคลสำคัญครั้งนี้คือ คุณวิเชียร พงศธร กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคมมาปฏิบัติ” เขาไม่เพียงผู้ที่ค่อยขับเคลื่อนบริษัท พรีเมียร์ กรุ๊ป แต่ยังจัดตั้งมูลนิธิและกิจการเพื่อสังคม เขาตระหนักถึงความสำเร็จขององค์กรที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับมูลค่าทางสังคมที่สร้างขึ้นด้วย เขาส่งเสริมการพัฒนาสังคม การตอบแทนสังคม การทำประโยชน์ต่อสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคม

ยุคที่สังคมที่มีการแข่งขันสูง คุณวิเชียร พงศธร ยังมีอีกบทบาทหนึ่งคือผู้ที่อุทิศงานเพื่อสังคม มันไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย เขาเข้าใจดีว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมีสาเหตุมาจากการเลือกใช้ชีวิต และทางเลือกเหล่านี้เกี่ยวข้องกับบุคคล กลุ่ม และสังคมโดยรวม ดังนั้นเขามีแนวคิดที่อยากทำอะไรเพื่อสังคมไม่เพียงแต่คำนึงถึงความสุขส่วนตัวเท่านั้นแต่ยังให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวม

คุณวิเชียร พงศธร เรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมในขณะนั้นที่วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมถือว่ามีแนวโน้มที่ดี เขาหวังว่าจะมีอาชีพที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม เขาพบว่าวิชาเอกวิศวกรรมนิวเคลียร์ไม่เหมาะสำหรับการเข้าทำงานในองค์กรเอกชน เขาจึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโท MBA หลังจากทำงานมาหลายปีเขาตระหนักมากขึ้นว่าการทำธุรกิจและการทำงานเพื่อสังคมเป็นการเสริมกำลังซึ่งกันและกัน การพัฒนาวิสาหกิจและเศรษฐกิจสังคมช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิตและทำงานอย่างสงบสุข ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจยังส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และด้านอื่นๆอีกด้วย

หากนึกถึงวันที่คุณวิเชียร พงศธร เข้าร่วมพรีเมียร์ กรุ๊ป น่าจะเป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตอาหารกำลังรุ่งเรือง ขณะนั้นประเทศไทยมีผู้ผลิตอาหารหลายรายแต่พวกเขาให้ความสำคัญกับรสชาติของอาหารเท่านั้น ในทางกลับกันยังไม่ค่อยใส่ใจเรื่องโภชนาการและสุขภาพเท่าไหร่ แต่คุณวิเชียร พงศธร รู้ว่าอาหารที่ดีไม่ควรอร่อยเพียงอย่างเดียวควรจะดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นจึงได้ศึกษาตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมจากต่างประเทศเรียนรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จของพวกเขาและพัฒนาขนมของไทยให้มากขึ้นทำให้ปลาเส้นทาโร่กลายเป็นอาหารอร่อยที่อยู่คู่คนไทยมาแล้วรุ่นต่อรุ่น

อย่างไรก็ตาม คุณวิเชียร พงศธร คิดว่าความสำเร็จทางธุรกิจต้องมาพร้อมกับการต้องตอบแทนสังคม ด้วยเหตุนี้เขาจึงอุทิศตนอย่างแน่วแน่เพื่องานการกุศลต่อสังคม ก่อตั้งมูลนิธิยุวพัฒน์มูลนิธินี้รวบรวมเงินทุนจากทุกสาขาอาชีพเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆที่ครอบครัวยากจนให้ได้รับการศึกษา โดยขั้นตอนการดำเนินการทางสังคม เขายังเผชิญกับความคิดที่ว่ากำลังแสวงหาผลประโยชน์และบางคนกังวลว่าการกุศลจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กร บางคนเสนอว่าควรแยกวิสาหกิจและองค์กรเพื่อสังคมออกจากกัน ความโชคดีของเขาคือได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานที่อยู่รอบตัวเขา ยืนหยัดในหลักการของเขาและสร้างพลังที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ มือหนึ่งทำธุรกิจอีกมือหนึ่งทำการทำเพื่อสังคม เขายึดมั่นทำสองสิ่งตลอดมาซึ่งด้านการทำกุศลเพื่อสังคมเขามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความช่วยเหลือบรรเทาความยากจนต่อต้านการทุจริตและกิจกรรมอื่น ๆ ไม่เพียงเกิดจากพลังของของคนใดคนหนึ่ง

ManGu: คุณได้เรียนด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์และ MBA สาขาเหล่านี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเภทของงานสังคมทำไมคุณถึงตัดสินใจถึงตัดสินใจเลือกเรียนทางด้านนี้

คุณวิเชียร: มีตัวเลือกมากมายบนเส้นทางชีวิต บางคนเลือกทำงานเพื่อสังคม บางคนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักธุรกิจ หรือข้าราชการ ตอนแรกผมยังคิดว่ามีทางเลือกเดียวต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเองให้ได้ก่อนแต่แล้วผมก็พบว่างานส่วนตัวและงานสังคมไม่ได้ทำให้ขัดแย้งกัน การที่เลือกวิศวกรรมนิวเคลียร์เป็นเพราะผมชอบวิทยาศาสตร์และในเวลานั้นการเลือกอาชีพที่มั่นคงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์มีประโยชน์อย่างมาก มีประโยชน์ที่จะวิจัยพัฒนาหลายๆด้านอาทิ ด้านการแพทย์ พลังงานที่ยั่งยืน แต่บางส่วนก็ถูกไปใช้ในด้านที่ไม่เป็นคุณคือการผลิตอาวุธ

 

ManGu: หลังจากนั้นคุณกลับมาดำเนินธุรกิจต่อเลยใช่ไหมคะ

คุณวิเชียร: ใช่ครับ ในตอนแรกผมยังคิดว่าจะดำเนินอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยแต่สุดท้ายผมก็เลือกมาดำเนินการทางธุรกิจ เพราะการหางานสาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมจึงเรียนปริญญาโท MBA อีกครั้ง หลังจากนั้นไม่กี่ปีผมก็ค่อย ๆ ตระหนักว่าธุรกิจกับการทำงานเพื่อสังคมไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน ในความเป็นจริงทั้งการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจสังคมสามารถนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน การพัฒนาเศรษฐกิจยังส่งผลต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาอีกด้วย

ManGu: บริษัท Premier Group เป็นการทำงานแรกหลังจบการศึกษาหรือไม่

คุณวิเชียร: ใช่ครับ ตอนนั้นผมเป็นนักศึกษาจบใหม่ ออกไปหางานทำเหมือนวัยรุ่นคนอื่นๆ การได้รับการยอมรับในฐานะคนรุ่นใหม่ ได้รับความไว้วางใจจากคนรุ่นอาวุโส ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และลงมือทำจริง ดังนั้น การที่คุณวิเชียรเคยได้รับโอกาสในฐานะคนรุ่นใหม่ จึงทำให้เรียนรู้ในการเห็นศักยภาพและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ตอนผมได้เริ่มทำงานผมลงมือทำอย่างเต็มที่ในด้านความคิดสร้างสรรค์และไอเดียต่างๆของผมแตกต่างจากที่เคยเห็นมาก่อน พวกเราได้ร่วมพูดคุยกันเพื่อหาแรงบันดาลใจและจุดประกายสิ่งใหม่ ๆ ในขณะนั้น Premier Group เป็นบริษัทหน้าใหม่ เพิ่งก่อตั้งได้ 2-3 ปี ผมได้ช่วยงานบริหารจัดการบางส่วน ในขณะเดียวกันยังได้เข้าร่วมอบรมการก่อตั้งบริษัทอีกด้วย

 

Mangu: ได้ยินมาว่าคุณมีความฝันอยากจะเป็น NGO ตั้งแต่เด็ก ๆ อยากทราบว่าจุดเริ่มต้นความคิดนี้ว่าเริ่มจากอะไรเหรอคะ

คุณวิเชียร: ก่อนอื่นเลยผมอยากจะพูดอธิบายให้ผู้อ่านฟังก่อนว่า NGO คืออะไร ตอนแรกที่เริ่มหันมาสนใจในด้านนี้เพราะผมคิดว่าปัญหาสังคมหลายอย่างที่เกิดขึ้นมาจากการเลือกใช้ดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล กลุ่มคนหรือทั้งสังคม ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อกัน ผมเลยอยากจะทำอะไรเพื่อสังคม อยากจะให้ส่วนรวมได้มีความสุขไม่ใช่แค่สนใจแต่ความสุขส่วนตนเท่านั้น ดังนั้นเลยอยากจะเปลี่ยนจากงานส่วนรวมเป็นงานส่วนตัวเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาต่างๆของสังคม พูดถึงว่าความคิดนี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ จริง ๆ ผมมีความคิดนี้มาตลอด สภาพแวดล้อมที่ผมเติบโตตั้งแต่เด็กจนโตทำให้ผมได้รับการปลูกฝังมาเสมอโดยพ่อแม่ของผมเองก็ให้ความสนใจกับสังคมและตั้งเป้าหมายชีวิต ดังนั้นผมเลยได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินอยู่เป็นประจำเลยทำให้ความคิดของผมเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

Mangu: สมัยเรียนยังเรียนอยู่ท่านได้เข้าร่วมกิจกรรมทำประโยชน์ให้สังคมบ้างไหม

คุณวิเชียร: จริง ๆ ตอนนั้นยังไม่ได้ทำอะไรมากครับ ได้แต่พยายามทำอะไรที่เหมาะสมกับวัยและทำตามกำลังของตัวเองในตอนนั้น อย่างเช่น ช่วยเหลือวัด ช่วยเหลือแม่ชี ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีรวมไปถึงได้มีครอบครัว โรงเรียน คุณครูและเพื่อนที่ดี

 

Mangu: แนวคิดที่ว่า “ทำงานอย่างเดียวรวมเป็นหนึ่งกับงานสังคม” เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่

คุณวิเชียร: แนวความคิดนี้มาจากที่ผมได้ศึกษามาหลายปี หากย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน ตอนที่ผมเข้ามาทำขนมเพื่อสุขภาพ ในตลาดมีบริษัทที่ทำอาหารจำนวนมากแต่ไม่ค่อยมีคนให้ความคำนึงถึงประโยชน์และหลักโภชนาการของการผลิตอาหารแต่กลับให้ความสำคัญกับรสชาติและความอร่อยเท่านั้น เมื่อเราได้ศึกษาตัวอย่างขนมต่างประเทศพบว่าประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ทำเรื่องนี้ได้ออกมาดีมาก สิ่งนี้เป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจพวกเราคิดที่จะรับผิดชอบต่อสังคม ต่อมาเราได้เข้ามาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กยากจนเราได้ให้ความสนใจเรื่องปัญหาการศึกษาพวกเขาเป็นพิเศษ เราพยายามอย่างหนักเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงการศึกษาและให้พวกเขาได้สามารถอ่านและเรียนหนังสือ ซึ่งพลังแรงจากเราฝั่ง ฝั่งเดียวยังไม่เพียงพอดังนั้นเราจึงได้จัดตั้งมูลนิธิการกุศลเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ยากจน เราคิดว่าหลังจากได้รับการกำไรจากธุรกิจแล้วก็ควรจะคืนกำไรให้กับสังคมเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมเราจึงเริ่มต้นจากให้เงินสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กยากจนแล้วค่อย ๆ ขยายขอบเขตร่วมทำงานเพื่อสังคมมากขึ้นจากงานของผมคนเดียวก็รวมเป็นหนึ่งกับงานสังคม

ManGu: ตอนที่คุณไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทถูกต่อต้านและขัดขวางจากภายในบริษัทหรือไม่ มีใครสงสัยแนวทางของคุณไหมว่าไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทที่เน้นผลกำไร

คุณวิเชียร: จริง ๆ แล้วทั้งคู่ไม่ได้ขัดแย้งกัน เราไม่สามารถอุทิศตนเพื่อการกุศลโดยไม่นึกถึงผลกำไรขององค์กร เนื่องจากเราเป็นองค์กรการค้าและโดยธรรมชาติเราต้องให้คุณค่ากับผลกำไร กุญแจสำคัญคือการหาทางก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอันที่จริงหลายคนตั้งคำถามกับเรา เช่น เราทำงานเพื่อสังคมเพื่อหาผลประโยชน์หรือหากเกิดข้อผิดพลาดจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรเป็นต้น ในเวลานั้นความคิดของหลายคนยังติดอยู่กับแนวคิดที่ว่าแยกทั้งสองอย่างออกจากกันจะดีกว่า แต่ความโชคดีของผมคือได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานรอบตัวผม

 

ManGu: ตอนนี้มีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆที่เข้าร่วมการกุศลเพื่อสังคมและเพื่อเพิ่มพูนประเภทของโครงการการกุศล คุณสามารถบอกเราได้อย่างเจาะจงหรือไม่ว่ามีโครงการใดบ้าง และโครงการเหล่านี้มีรายละเอียดอย่างไร

คุณวิเชียร: เนื่องจากปัญหาสังคมมีความหลากหลาย การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในประเด็นพื้นฐานที่สุด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องปรับปรุงและแก้ไข เช่น มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ความยากจน สิทธิและเสรีภาพของผู้พิการและอีก 1 ปัญหาคือการทุจริต เราจึงต้องขยายสายงานและหาพลังทางสังคมมาช่วยมากขึ้นเพราะในหลายประเด็นผมไม่เชี่ยวชาญไม่ใช่นักการศึกษาหรือเชี่ยวชาญเรื่องนโยบายสวัสดิการสังคม ดังนั้นเราต้องการคนที่อยากมีส่วนร่วมมารวมพลัง ทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงปัญหาสังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมซึ่งคือจุดประสงค์ของเรา

ManGu: แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Premier Group ก็ต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้อย่างเลี่ยงไม่ได้คุณเคยรู้สึกท้อใจที่จะทำเพื่อสังคมไหม? บางคนเลือกที่จะเข้าสู่การเมืองโดยหวังว่าจะแก้ปัญหาสังคมด้วยวิธีทางการเมือง

คุณวิเชียร: ความลำบากเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผมไม่เคยย่อท้อต่อมัน เพราะผมคิดว่านี่คือความรับผิดชอบ ถ้าคุณเจอปัญหาใหญ่เราต้องเจาะลึกว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร บางปัญหาใหญ่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ทีมอาสาสมัครของเรายังต้องหาสมาชิกใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างพลังสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน แก้ปัญหาทีละขั้นตอนในกระบวนการนี้ ผมยังต้องเผชิญกับข้อสงสัยต่าง ๆ เช่น ปัญหาสังคมนั้นใหญ่หลวงจนมีเพียงคนเดียวหรือในทีมเท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้โดยมีผลเพียงเล็กน้อย เราสามารถเลือกที่จะไม่สนใจสิ่งเหล่านี้และสนใจแต่ความสุขสบายของตัวเอง เด็กที่ยากจนและไม่สามารถไปโรงเรียนควรทำอย่างไร? ครอบครัวยากจนเหล่านั้นจะฝ่าฟันความยากลำบากไปได้อย่างไร? ปัญหาการทุจริตจะรุนแรงขึ้นหรือไม่? ดังนั้น เราต้องไม่นิ่งเฉยกับมัน พลังของคนเพียงคนเดียวนั้นไม่สำคัญดังนั้นเราต้องอุทิศตนเพื่อสร้างระบบงานสังคมสงเคราะห์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเปิดโอกาสให้ผู้คนและองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมมากขึ้นและสร้างแนวโน้มการพัฒนาในเชิงบวก เช่นเดียวกับรัฐบาลจีนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสวัสดิการสังคม เราในประเทศไทยก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนและทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น

 

ManGu: คุณจัดสรรทรัพยากรและเวลาทำงานอย่างไร? ในกิจการส่วนรวมและธุรกิจของคุณ

คุณวิเชียร: ผมเข้าใจดีว่าการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการไหนก็ต้องทำประโยชน์ให้สังคม ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคุณเกี่ยวข้องกับการทำลายสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการทุจริต สังคมจะยอมรับหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมไอที อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและศิลปะ ฯลฯ ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมและมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม อุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้ม ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมไอที มันจะทำให้การค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้คนสะดวกขึ้น ส่งเสริมความโปร่งใสของข้อมูล ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และสอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม และมันจะเฟื่องฟูอย่างแน่นอน

ManGu: ก่อนที่จะเริ่มโครงการสาธารณกุศลท่านต้องผ่านการวางแผนและการไตร่ตรองเป็นระยะเวลานานหรือไม่

คุณวิเชียร: จริง ๆ แล้วหลาย ๆ ไอเดียไม่ได้มาจากผมหรือคนจาก Premier Group แต่มาจากผู้คนจากทุกสาขาอาชีพที่เราทำงานด้วย บทบาทของเราคือการนำแนวคิดเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสิ่งที่เรากำลังดำเนินการคือความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ก่อนที่จะเริ่มโครงการเราต้องชี้แจงเบื้องหลังและแรงจูงใจของโครงการและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนด้วยทัศนคติที่จริงใจ ผลลัพธ์สุดท้ายคืออะไร? ขั้นตอนของการทำให้ประสบึความสำเร็ตคืออะไร? จุดประสงค์ของโครงการของเราคือการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับทุกโครงการและบางโครงการต้องใช้เวลาเตรียมงานนานหลายปี

 

ManGu: ในฐานะนักธุรกิจท่านมีส่วนร่วมสนับสนุนสาธารณกุศลหรือไม่

คุณวิเชียร: ผมเป็นหนึ่งในคนหลายคนที่อยากช่วยให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษา แต่เราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ บทบาทของเราคือการเป็นตัวกลางระหว่างผู้สนับสนุนที่หลากหลาย ภารกิจของหลักคือการแก้ไขปัญหาการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำ เราเแก้ปัญหาสังคมโดยเน้นที่สังคมส่วนรวมไม่ใช่ตัวเรา เราไม่เห็นแก่ตัว ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

 

Thank you.

คุณวิเชียร พงศธร / Mr. Vichien Phongsathorn

 

Photographer : Luttsit Thongbansai @bellr_blackroom 
Graphic Designer : Natchaphol Jin Srijun @Banshy.j
Coordinator : Natruja Ming @fahnrj  
Column Writer : Zou SiYi @joy_zz97

You can share this post!

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 256 (15th May 2023) บทสัมภาษณ์สุดพิเศษของผู้ก่อตั้ง ISSUE THAILAND คุณภูภวิศ กฤตพลนารา (คุณโรจน์)

MANGU E-Magazine Cover Story Issue 254 (15th April 2023) พบกับบสัมภาษณ์ "จ๋า อลิสา พันธุศักดิ์ คุนผลิน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทีพีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด