“จากคุณครูสู่นักการเมือง และมุ่งสู่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม”
เส้นทางชีวิตของท่านสุทิน คลังแสง กับชีวิตที่เต็มไปด้วยการพลิกผันที่ซับซ้อน หลังจากการเกิดการพลิกผันครั้งใหญ่หลายครั้ง ในปี 2566 พรรคเพื่อไทยก็กลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งของไทยพรรคสุดท้าย และได้กลายเป็นพรรครัฐบาลที่กุมชะตากรรมของประเทศไทยอีกครั้งในรอบ9ปี ซึ่งตลอด9ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองแบบ "รัฐประหาร" โดยมีทหารเข้ามาแทรกแซงการปกครองในบ้านเมือง พลทหารที่มีภูมิหลังทางการทหารในด้านต่างๆได้ยึดครองอำนาจและกลายเป็นคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ ของประเทศไทย
หลังจากที่พรรคเพื่อไทยก้าวขึ้นสู่อำนาจอีกครั้ง มุมมองจากโลกภายนอกเชื่อว่าประเทศไทยจะกลับคืนสู่ "ระบอบประชาธิปไตย"ตามปกติอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบแทนการสนับสนุนของเหล่าทหาร ตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม" ของประเทศไทยจะสงวนไว้สำหรับพลทหารที่มีพื้นฐานทางการทหารเท่านั้น แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ บุคคลที่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในท้ายที่สุดแล้ว กลับกลายเป็นนักการเมืองข้าราชการฝ่ายพลเรือน และไม่มีเสียงคัดค้านใดใดจากทางเหล่าทัพทหารเลย
ซึ่งประเทศไทยมีการพลิกผัน แบบ 180 องศา จาก "การปกครองเผด็จการทหาร" สู่ "การปกครองแบบพลเรือนประชาธิปไตย" เมื่อท่านสุทิน คลังแสง ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ท่านก็กลายเป็นที่น่าสนใจของผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยโดยทันที เดิมทีท่านสุทิน คลังแสง ประกอบอาชีพ ครู อยู่ใน "จังหวัดมหาสารคาม" อันห่างไกลและล้าหลังทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท่านสุทิน คลังแสง เป็นครูในชนบทและได้รับความเคารพนับถือ ซึ่งในช่วงกลางวันท่านมักจะสอนคนพิการในท้องถิ่น และในช่วงเวลากลางคืนท่านก็จะไปวัดเพื่อนำแสงสว่างแห่งความรู้มาอบรมสั่งสอนให้แก่เหล่านักเรียนที่บวชเป็นพระและสามเณรในท้องถิ่นที่มาจากครอบครัวที่ยากจน
ท่านสุทิน คลังแสง ก็เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่พื้นฐานเดิมมาจากครอบครัวที่ยากจน แต่ท่านมีมุ่งมั่นและยืนหยัดที่จะก้าวเข้าสู่แวดวงการเมือง เพื่อรับใช้ประชาชนจากมุมมองพื้นฐานที่ท่านมีและความอยากสร้างประโยชน์ให้แก่ภูมิลำเนาบ้านเกิดของตน ท่านจึงอุทิศตนให้กับกิจกรรมต่างๆของชุมชนและยังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเปลี่ยนจาก "ครู" ธรรมดาๆ จนกลายมาเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม จนกระทั้ง นายทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น และได้มีโอกาสเชิญท่านสุทิน คลังแสง เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคไทยรักไทย และตั้งแต่นั้น ท่านสุทิน คลังแสง จึงได้มีบทบาทและก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองอย่างเป็นทางการและได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรัฐสภาจนสำเร็จ ด้วยความนิยมอย่างล้นหลามของท่านสุทิน คลังแสง ที่สั่งสมประสบการณ์ และผลงาน มาตั้งแต่อาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ในการอภิปรายรัฐสภาทุกครั้ง ด้วยวาจาอันไพเราะบนแท่นประชุม ทำให้ท่านสุทิน คลังแสง เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในเรื่องสงครามการอภิปายในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่วงการการเมืองภายใต้ อดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร ถูกกำหนดให้ไม่สามารถหนีพ้นเรื่องราวต่างๆในทุกรัฐประหาร ทุกการล้มล้าง และทุกการเปลี่ยนแปลงที่สะเทือนโลกของประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
พรรคการเมืองของท่านสุทิน คลังแสง ถูกยุบอยู่บ่อยครั้ง ท่านถูกลิดรอนสิทธิทางการเมืองจำนวนสองครั้งและเป็นเวลากว่า 5 ปี แถมยังถูกจับกุมและขุมขังในฐานะผู้ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงระหว่างพรรคเสื้อแดงและเสื้อเหลือง แต่ด้วยความหลงใหลในสายเลือดแห่งภาคอีสานบวกกับความเชื่อที่ว่า "ผู้มีอำนาจย่อม อยู่เพื่อส่วนรวม" ดังนั้นท่านสุทิน คลังแสง จึงยืนหยัดครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งในยุคที่มืดมิดที่มีแต่ความกดดันและความพ่ายแพ้อันหนักหน่วง แต่ทว่าท่านสุทิน คลังแสง ก็ยังคงอดทน รอคอยชัยชนะ จนในที่สุด ท่านก็สามารถมาถึงช่วงเวลาอันสำคัญที่สุดของชีวิตได้
หลังจากที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว ผู้คนต่างมีความกังวลเกี่ยวกับการทำงานของท่านสุทิน คลังแสง มากในช่วงต้น จากนักการเมืองข้าราชการพลเรือน ที่ไม่มีประสบการณ์และความรู้ทางการทหารจะไม่สามารถควบคุมเหล่าพลทหารได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นรวมถึงตัวของท่านสุทิน คลังแสง เองก็มีความกังวลใจอยู่ไม่ใช่น้อย แต่หลังจากที่ท่านได้ก้าวเข้ารับตำแหน่งแล้วจริง ๆ กลับพบว่า "การบริหารกองทัพ" นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะทหารปฏิบัติตามคำสั่งและเชื่อฟังคำสั่ง อีกทั้งยังให้ความร่วมมืออย่างมากกับงานที่ได้รับมอบหมาย หลังจากที่ค่อยๆ เข้าสู่เวทีรัฐมนตรี ท่านก็เริ่มปฏิรูปกองทัพอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบ ระบบ E- OFFICE และ ECON OFFICEเข้ามาจัดการกองทัพ เพื่อสร้างกองทัพสมัยใหม่ และยังส่งเสริมการปฏิรูประบบเกณฑ์ทหารอย่างแข็งขัน และจัดการกับปัญหาการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ขั้นสูง ทั้งนี้ ท่านสุทิน คลังแสง ได้รับตำแหน่งเป็น "รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม" อย่างแท้จริง โดยบทบาทหน้าที่สำคัญในเรื่องของการสื่อสาร และการประสานงาน การเปลี่ยนแปลงระหว่างการเมืองแบบประชาธิปไตยกับรัฐประหารที่ยากลำบากและคดเคี้ยวของประเทศไทย
เมื่อกล่าวถึงความทรงจำของตนเองในอดีต ท่านสุทิน คลังแสง ก็กล่าวออกมาด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย ท่านกล่าวว่าการเป็นนักการเมืองในประเทศไทยนั้นยาก แต่ชีวิตของประชาชนนั้นยากยิ่งกว่า ตราบใดที่นักการเมืองคำนึงถึงภารกิจที่ตนพึงกระทำและพยายามทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นและปล่อยให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไป ความยากลำบากและความท้าทายเหล่านี้ก็จะมีความหมายอันไม่มีที่สิ้นสุดของชีวิต นักการเมือง สำหรับคำว่า ครู ที่กลายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ชีวิตที่มีสีสันนี้จะเป็นอย่างไร? คนไทยทั้งประเทศต่างก็ตั้งตารอ
ManGu: ทราบว่าท่านสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Doctor of Philosophy Magadh University จากประเทศอินเดีย อยากให้ท่านช่วยเล่าประวัติการศึกษาคร่าวๆให้ฟังหน่อยค่ะ
ท่านสุทิน: ใช่แล้วครับ ผมสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ต่อมาในระดับปริญญาโท ผมจบสาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต Doctor of Philosophy Magadh University ที่ประเทศอินเดีย ครับ
ManGu: ก่อนที่ท่านจะผันตัวมาเป็นนักการเมือง ทราบมาว่า ท่านเคยเป็นครูมาก่อน เพราะมีเด็กๆเรียกท่านว่าครูสุทิน ทำไมท่านถึงเลือกสอน นักเรียนที่มีความพิการทางด้านร่างกายคะ
ท่านสุทิน: ผมสอนมาหลายระดับ แต่ผมมองไปที่คนด้อยโอกาส ซึ่งช่วงนั้นผมอยู่ที่ขอนแก่น เป็นครูครั้งแรกก็เริ่มสอนคนพิการ ที่คิดแบบนี้เพราะว่าคนด้อยโอกาส เขาเป็นคนที่ควรจะได้รับโอกาส นอกจากจะสอนคนพิการแล้ว ผมยังมีโอกาสได้สอนพระด้วย เป็นพระเณรที่มาจากครอบครัวยากจน ซึ่งเขาก็มาบวช เรียกว่า โรงเรียนปิยะธรรม ผมใช้เวลาช่วงหลังเลิกเรียน หรือพลบค่ำสอนพระเณร และ ตอนกลางวันก็สอนเด็กพิการ ต่อมาก็ย้ายไปเป็นครูสอนที่มหาวิทยาลัย มีการสอนนักศึกษา ทำวิจัย และได้มีโอกาสมาเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ต่อมาก็ได้เข้าสู่แวดวงการเมือง ในวันนี้ผมก็มีโรงเรียนเอกชนเป็นของตัวเอง เป็นโรงเรียนระดับอาชีวะ ที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอาชีวะของเราอยู่ภายในตำบล ดังนั้นผมก็มีโครงการจะทำโรงเรียนอินเตอร์แห่งใหม่ อยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ไว้สอนภาษาอังกฤษสำหรับชาวบ้าน และไม่ต้องไปเก็บเงินเขาเยอะมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นลูกชาวบ้าน ซึ่งผมก็มีโครงการปรับเป็นโรงเรียนอินเตอร์ เริ่มตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา
ManGu: อย่างที่ทราบกันว่าท่านเคยเป็นครูมาก่อน ท่านก้าวมาสู่เส้นทางการเมืองได้อย่างไร
ท่านสุทิน: ผมเป็นคนชอบการเมืองมาตั้งแต่เด็ก ด้วยความเป็นลูกชาวบ้านและได้เห็นเด็กที่ด้อยโอกาส ผมอยู่กับสังคมที่ขาดแคลน แนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาของเราในจุดนี้ก็คือ การเป็นนักการเมือง ดังนั้นเมื่อสมัยเป็นครู ผมก็ศึกษาลู่ทางมาโดยตลอด จนได้ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็ได้มีโอกาสทำงานกิจกรรมชุมชน ได้มีโอกาสก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่อำเภอขามเรียง จังหวัดมหาสารคาม ผมได้มีโอกาสอยู่ร่วมกับชาวบ้าน พอมีกิจกรรมกับชาวบ้าน ก็เป็นที่รู้จักของชาวบ้านมากขึ้น จุดนั้นทำให้ผมถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นทางการเมือง ช่วงนั้นก็ได้มีการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งคุณทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น และได้ชวนไปก่อตั้งพรรคเป็นรุ่นแรกๆ
ManGU: ฉายา คลังแสงมหาสารคาม มีที่มาจากอะไรคะท่าน
ท่านสุทิน: ในทางการเมือง ผมมีฉายามาก่อนหน้านั้น นั่นก็คือ ผู้แทนกินดิน สุทิน คลังแสง ส่วนคำว่า คลังแสง มหาสารคามก็เกิดจาก นามสกุล คลังแสง พอมาเป็น สส.สมัยหลังๆ ผมก็เริ่มแสดงบทบาทที่จะต่อสู้อีก ทั้งแสดงจุดยืนเพื่อชาวบ้าน เพราะฉะนั้นคำว่า คลังแสง ก็หมายถึง คลังอาวุธที่จะปกป้องต่อสู้ สำหรับชาวบ้าน ทีนี้ก็เลยเรียกกันติดมา
ManGu: ทำไมท่านถึงชอบเลข 13 และเลือกเลข 13เป็นฤกษ์สำหรับชีวิตคะ
ท่านสุทิน: ผมเป็นครูครั้งแรก บรรจุวันที่ 13 กรกฎาคม และเวลาที่ผมกำลังศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าที่ใดก็แล้วแต่ ผมมักจะได้เลขที่13 ต่อมาได้เป็น สส. ครั้งแรก ก็ได้เลขที่ สส. ลำดับที่ 413 พอไปซื้อบ้าน ทำบ้านใหม่ ก็ได้บ้านเลขที่ 13 นอกนั้นฤกษ์ดีๆต่างๆในชีวิตผม จะเป็นเลข 13 ทั้งหมด ซึ่งผมก็รู้สึกว่าเลขที่ 13 มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตผมมากๆ ผมเลยคิดว่าน่าจะเป็นเลขประจำตัวของผมเอง
ManGu: สำหรับตำแหน่งรัฐมนตรี ท่านมีการเตรียมตัวหรือมีการเตรียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งนี้อย่างไรบ้างคะ
ท่านสุทิน: การเป็นนักการเมืองมาเป็นเวลานาน ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารประเทศอยู่แล้ว ผมมีการสมมุติตัวเองหรือออกแบบตัวเองมาโดยตลอด ว่าถ้าสักวันหนึ่งเรามีโอกาสได้เป็น รัฐมนตรี เราจะมีรูปแบบการจัดการอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องการเข้าเป็นรัฐมนตรี ผมไม่ได้มีการวางแผนใดๆ คิดแค่ว่า อยากจะเป็น สส. ให้ได้หลายๆสมัย และด้วยความที่เราไม่มีเงิน ไม่มีแก๊ง ทำให้ผมคิดว่าการเป็นรัฐมนตรี จะต้องแสดงความสามารถมากๆ ซึ่งเราจำเป็นต้องมีความสามารถที่สังคมและพรรคให้การยอมรับ หรือการทำงานให้พรรคมากๆ
ManGu: ท่านรู้สึกยากไหมคะ ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นพวกเหล่าทัพ
ท่านสุทิน: เดิมคิดว่ายาก น่ากลัวเพราะแต่ละคนมีบารมี ก็รู้สึกลำบากใจ แต่พอได้มีโอกาสมาทำงานจริงๆ ด้วยธรรมชาติของพวกเหล่าทัพ เป็นบุคคลที่มีวินัย คำว่ามีวินัยก็คือ ผู้บังคับบัญชาก็คือผู้บังคับบัญชา คำสั่งก็คือคำสั่ง ซึ่งพวกเขาก็ทำหน้าที่และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องเป็นคนที่เขายอมรับได้ด้วย เพราะไม่ใช่พวกเขาเหล่านั้นจะยอมรับทุกคน หน้าที่ของเราก็คือ การทำตัวให้เขายอมรับได้ เช่น การทำให้เขารู้ว่าเรามาดีและมีความตั้งใจในการทำงาน
ManGu: ชินหรือยังคะ ที่มีคนเรียกท่านว่า บิ๊กทิน
ท่านสุทิน: ใหม่ๆก็ตกใจ แต่หลังๆก็เริ่มชินแล้วครับ
ManGu: ในเรื่องของแผนร่วมพัฒนากองทัพ เห็นว่ามี 4 รูปแบบ อยากให้ท่านช่วยเล่าสักเล็กน้อยค่ะ เรื่องของการพัฒนากองทัพสมัยใหม่ การลดกำลังพลและการจัดซื้อยุทโธปกรณ์
ท่านสุทิน: ก่อนอื่นเลย ก่อนที่จะมาเป็นคำว่า การพัฒนากองทัพ มันมีคำว่าการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งตอนหาเสียง เขาก็จะชูเรื่องการปฏิรูปกองทัพมาโดยตลอด พอมาเป็นรัฐบาลแล้ว ท่านนายกก็เปลี่ยนมาเป็นการร่วมพัฒนากองทัพ หากถามว่าต่างกันไหม มันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมาก ด้วยความหมายของคำว่า ปฏิรูป กับ ปฏิวัติ แต่พอเป็นเรื่องการพัฒนาก็มีความหมายว่า การทำให้ดีขึ้น เพียงแต่ว่ามันจะได้ความรู้สึกต่างกันนิดหน่อย คำว่า ปฏิรูป นั้นหมายถึง ผู้ที่ถูกปฏิรูป หรือ ผู้ที่ถูกกระทำ แต่การร่วมพัฒนาคือ ไม่มีใครถูกปฏิรูป หรือไม่มีใครถูกกระทำนั่นเอง ซึ่งมันจะดูซอฟต์และยังสามารถทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ManGu: ตั้งแต่ท่านบริหารงานมา เห็นว่าท่านจะทำเป็นกองทัพแบบ E-Office ในเรื่องนี้ท่านมองอย่างไรบ้างคะ
ท่านสุทิน: เรามีวิสัยทัศน์และนโยบาย เข้ามาคือการที่จะต้องนำกองทัพ ให้กองทัพมีความทันสมัย ซึ่งคำว่า ทันสมัยก็มีหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ความทันสมัยเรื่องศักยภาพ ทันสมัยเรื่องขนาด ทันสมัยเรื่องภารกิจ ซึ่งต้องเป็นภารกิจที่ต้องก้าวทันภัยคุกคามใหม่ ทันสมัยในด้านเทคโนโลยี ซึ่งคือการนำเทคโนโลยีมาให้พัฒนาด้านการบริหารด้านกระทรวง เหล่าทัพจะเป็นในเรื่องของ E- OFFICE และ ECON OFFICE แต่ว่าในทางยุทธการต้องนำ ยุทโธปกรณ์จะต้องทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นกองทัพไซเบอร์ Space Force เป็นต้น
ManGu: เส้นทางการเมือง 12 ปีของท่าน ประทับใจจุดไหนบ้างคะ
ท่านสุทิน: ประทับใจตรงที่เราเป็นนักการเมืองที่ผ่านมาทุกรสชาติ คุ้มค่า ไม่มีนักการเมืองคนไหน ได้เจอสิ่งต่างๆที่สมบูรณ์แบบเท่าผม ไม่มีอะไรที่ขาดหายไปเลย หวานชื่นขื่นขม ตื่นเต้น เร้าใจทุกอย่าง และที่ประทับใจ คือ ได้ตำแหน่งดาวสภา คือเราได้ทำหน้าที่อภิปาย ทำหน้าที่สรุปทุกครั้ง และสังคมก็ประเมินว่าทำได้ดี จึงได้เป็นดาวสภา สิ่งนี้คือรางวัลที่เราอยากได้มาตั้งแต่สมัยเด็ก
ManGu: ในชีวิตการเป็นนักการเมืองของท่าน เจอมาหลากหลายเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็น ยุบสภา ยุบพรรค ยึดอำนาจ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ถูกคุมขัง อยากทราบว่า ท่านผ่านเรื่องราวแบบนี้มาได้อย่างไร
ท่านสุทิน: มันอุบัติขึ้นด้วยสังคม ด้วยปัญหาและบริบทของสังคม ทำให้มันเป็นแบบนั้น ซึ่งเราไม่คิดว่าเราจะเจอ การเป็นนักการเมืองแบบนั้น ตอนแรกเลยคือ การถูกยึดอำนาจ คือการปฏิวัติยุบพรรค หลังจากยุบพรรคเสร็จเราก็ถูกปลด หลังจากนั้นก็ถูกติดตาม เราจึงจำเป็นต้องหนีเอาตัวรอด พอได้ตั้งพรรคใหม่ เราก็ได้รับเลือกตั้งมา จากนั้นก็ถูกยุบพรรคอีก พอโดนตัดสิทธิ์จนพ้นโทษมา ก็มีการเลือกตั้งและก็ถูกยึดอำนาจใหม่ ยังไม่รวมกับที่ผ่านการเลือกตั้งแล้วก็โดนโมฆะ2ครั้งรวมๆคือ ยึดอำนาจ 2 ครั้ง ตัดสิทธิ 2 ครั้ง และโมฆะ 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรก 5 ปี รัฐบาลประยุทธ์ ยึดอำนาจอีกก็รวมเป็น 6 ปี จากนั้นโดนตัดสิทธิ์ 2 รอบและชนะเลือกตั้ง 2 ครั้งแต่ถูกยกเลิกและถูกคุมขัง 2 รอบ
ManGu: ท่านมีหลักธรรมคำสอนจีน หรือคติประจำใจในการบริหารงานไหมคะ
ท่านสุทิน: มีครับ ถ้าเป็นหลักธรรมหรือคติประจำใจ ผมชอบของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผมเรียนจบมา คือ พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว แปลว่า ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ManGu: ท่านมีหนังสือเล่มโปรดไหมคะ
ท่านสุทิน: หนังสือเล่มโปรด คือหนังสือเกี่ยวกับการวิจัยเชิงพัฒนา การเมืองเศษฐกิจ ยุคกรุงเทพซึ่งเป็นงานวิจัยของอาจารย์ ผาสุก พงไพรเกียรติ์ กับ พรีส เบเกอร์ ซึ่งเป็นวิจัยเกี่ยวกับ สภาพการเมืองสังคม เศษฐกิจตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ไล่มาจนถึงปัจจุบัน ว่ามีความสัมพันธ์กับสังคมเศรษฐกิจอย่างไร สัมพันธ์กับวิถีชีวิตชนบทอย่างไร
ManGu: ในตอนนี้ภารกิจของท่านเยอะมากๆเลย ท่านมีวิธีบริหารจัดการชีวิตอย่างไรบ้างคะ
ท่านสุทิน: ก็ยอมรับว่าบริหารค่อนข้างยากเพราะผมทำงานเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่วันหยุดก็ไม่ได้พักผ่อนซึ่งผมใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับงานไปด้วย ส่วนใหญ่ใช้เวลาพักผ่อนอยู่บนรถซึ่งเวลานอนแค่ 5-6ชั่วโมงก็พอแล้ว
ManGu: มีกีฬาที่ชื่นชอบบ้างไหมคะ
ท่านสุทิน: มีกอล์ฟ ซึ่งช่วงนี้ห่างมาก เพราะไม่มีเวลาเล่นเลย
ManGu: ท่านมีอะไรอยากจะฝากถึงผู้อ่านชาวจีนบ้างไหมคะ
ท่านสุทิน: ก็ต้องฝากเรื่องการเป็นนักการเมือง ในประเทศมันยังไม่ถูกพัฒนาเท่าที่ควร และเป็นชีวิตนักการเมืองที่ค่อนข้างลำบากแต่ผมเชื่อว่าประชาชนลำบากกว่า เพราะฉะนั้นผมจึงทำงานเต็มที่ แต่หากมองอีกมุมหนึ่งก็รู้สึกท้าทายสนุกตื่นเต้นดี แต่ผมมีความเชื่อมั่นว่าการเมืองไทยจะถูกพัฒนาไปสู่จุดที่ทุกคนคาดหวัง
_______________________________________________________________________________________________________
Thank you.
ท่านสุทิน คลังแสง
_______________________________________________________________________________________________________
Photographer : Natchakrit Wichiensarn @ktpx.kritt
Graphic Designer : Natchaphol Jin Srijun @Banshy.j
Coordinator : Narumon Sripool @poo_ler
Column Writer : Ms.Huang Lanjun @Mocy