MANGU : ก่อนอื่นเลย ท่านมีเชื้อสายจีนไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ส่วนใหญ่แล้ว คนทางเหนือ ตั้งแต่บรรพบุรุษ จะมีการย้ายถิ่นฐานมาจาก ทางฝั่งสิบสองปันนาอยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า มนฆล Yunnan ประเทศจีน หากมองจังหวัด พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ช่วยใหญ่ก็มีต้นกำเนิดมาจากที่นั้น
MANGU : ดังนั้นพื้นเพของท่าน ก็เป็นคนภาคเหนือเลยใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ใช่ครับ ผมเกิดที่จังหวัด พะเยา
MANGU : ดังนั้น ที่บ้านได้มีการพูดถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานบ้างไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ต้องบอกว่า มันมีประวัติศาสตร์ที่กษัตริย์เจ้าเมืองของเมือง พะเยา เมื่อก่อนเขาเรียกว่า เมืองภูกามยาว ท่านก็ อพยพมาจาก สิบสองปันนา มนฆล Yunnan ประเทศจีนเช่นกัน ดังนั้นสรุปแล้ว พวกเราก็คือคนจีนที่มีการอพยพมานั้นแหละครับ พอมาเป็นคนจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากฝั่งเหนือของประเทศไทย ทำให้ วัฒนธรรมมันแตกต่าง เพราะมีการประสมประสานระหว่างวัฒนธรรมล้านนากับจีน
MANGU : ชีวิตความเป็นอยู่ ในครอบครัว เคยได้รับอิทธิพลจีนหรือวัฒนกรรมและธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน บ้างไหมคะ
ท่านธรรมนัส : คือสังคมทางภาคเหนือ ก็มีเอกลักษณ์ ที่เป็นวัฒนธรรมของคนภาคเหนือเอง ซึ่งนั้นก็คือ วัฒนธรรมล้านนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของทางล้านนาเอง ส่วนของสิบสองปันนาดั้งเดิม ก็มีความเป็นล้านนาอยู่ ก็ถือว่าเป็นการประสมประสาน เป็นชนเผ่าเดียวกัน
MANGU : ท่านเลือกสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย เพราะอยากเป็นทหาร ตั้งแต่เด็กเลยใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ไม่ครับ ผมมาจากครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกรษตกร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เป็นชาวนาอยู่ที่จังหวัด พะเยา ซึ่งทางแม่ ไม่ได้เรียนหนังสือเลย คุณแม่ของผมท่านแต่งงานตั้งแต่อายุ 16 ปี และคุณพ่อก็จบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทางครอบครัวของเรามีฐานะยากจน ดังนั้น เมื่อคุณพ่อมีลูก 5 คน ซึ่งผมเป็นคนที่ 3 ซึ่งมีเพียงพี่ชายของผมได้มีโอกาสได้เรียนหนังสือเพียงคนเดียว และผมจำเป็นต้องไปอยู่กับน้องสาวคุณแม่ ซึ่งแต่งงานกับ ข้าราชการทางภาคใต้ ผมเลยจบการศึกษาระดับชั้นป.6 ได้มีโอกาสเรียนมัธยมต้นอยู่แค่เพียงครึ่งเดิม ก็ต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ อำเภอ เบตง จังหวัด ยะลา ซึ่งในขณะนั้น คุณพ่อคุณแม่บุญธรรมก็ต้องย้ายถิ้นฐานไปที่ จังหวัด นาราธิวาส อีก ดังนั้นผมจึงได้เริ่มชีวิตใหม่ ที่จังหวัด นาราธิวาส ซึ่งได้เข้าเรียนต่อ ในช่วงมัธยมปีที่ สอง จนจบปีที่หก จริงๆแล้วความฝันของผม คือ ผมอยากทำอาชีพหมอ ซึ่งชีวิตพลิกผันมาก ต้องบอกว่า ในช่วงที่เรียนมัธยม ผมเป็นนักเรียนที่เรียนดีคนหนึ่ง ตอนนั้นในจังหวัด นาราธิวาส มีโครงการแพทย์สามจังหวัดภาคใต้ ปกติที่โรงเรียนก็จะส่งเด็กไปสอบแข่งขัน และทางโรงเรียนก็จะคาดการณ์ว่าผมจะต้องติดอันดับโครงการนี้ ปรากฎว่า ผลออกมากลายเป็นผมไม่ติดรายชื่อโครงการนี้ ซึ่งเป็นที่น่าผิดหวังไปตามๆกัน เมื่อผิดหวัง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ก็จะต้องมุ่งสู่การสอบเอ็นทรานส์ใหญ่ เพื่อมุ้งเข้าสู่มหาวิทยาลัย ซึ่งผมก็มาติวข้อสอบที่กรุงเทพ ตอนนั้นผมจำได้ว่า พ่อให้เงินติดตัวผมมาแค่ 3000บาท ผมก็เลยตัดสินใจ ออกจากบ้านที่จังหวัด นาราธิวาส เพื่อมาต่อสู่ด้วยตัวเองที่กรุงเทพ ถ้าไม่ได้ดีก็จะไม่กลับไปที่นาราธิวาสเลย แต่ระหว่างที่ผมมาที่กรุงเทพ ผมก็มาติวที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งก็ซื้อหนังสือมาอ่านเอง ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และในขณะเดียวกัน ก็มีเพื่อน ซึ่งเพื่อนของผมเขาชื่นชอบการเป็นนักเรียนนายร้อย เพื่อนก็ชักชวนให้ไปสอบที่โรงเรียนนายร้อย ในตอนนั้นเพื่อนถึงขนาดจ้างผมให้ไปสอบเป็นเพื่อนเขา ผมเลยได้มีโอกาสไปสอบที่โรงเรียนนักเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า ซึ่งตอนเรามาที่กรุงเทพ มีที่ไหนให้สอบ ผมก็สอบหมดเลย สอบทั้งป่าไม้ สอบทั้งประมง สอบทั้งทหาร สอบทั้งเอ็นทรานส์ ผมสอบทั้งหมดเลย ปรากฎว่าผลการสอบนักเรียนนายร้อย ออกมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเพื่อนของผมไม่ผ่านสักคน มีเพียงผมเท่านั้นที่สอบผ่าน พอติดเราก็ไปหมอบตัว ตอนนั้นผมรู้สึกว่า โรงเรียนนี้สอนให้ผมเป็นลูกผู้ชาย เรียนไปได้หนึ่งเดือนผลการสอบที่เราไปสอบเอ็นทรานส์ก็ติดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ผมก็ไม่เลือกเรียน ซึ่งผลสอบอื่นๆผมก็ติดเช่นกัน แต่ ผมเลือกที่จะไม่เรียน ซึ่งตอนนั้นผมตัดสินใจแน่ชัดแล้วว่าผมจะเป็นทหาร ผมจำได้เลยว่าผมนั้งรถไฟชลบุรี-บางกอกน้อย ได้ลงสถาณีสุดท้ายเลยคือ สถานี สมัยโกลก และกลับบ้านครั้งแรก แต่พอมาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยสักพักหนึ่ง ผมก็กลับบ้านเกิดที่จังหวัด พะเยา ผมจำได้ว่าผมนั่งรถจาก สถานีขนส่ง บขส. ไปที่จังหวัดพะเยา ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ชีวิตผมเป็นแบบนี้ คือ เป็นคนสองภาค คือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งผมก็พูดได้ทั้งภาษาเหนือ และภาษาใต้เลยครับ
MANGU : หลังจากที่เป็นนักเรียนนายร้อย ก็ใช้ชีวิตเป็นทหารอยู่หลายปีใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ใช่ครับ ผมถือว่าเป็นนักเรียน แนวหน้าของรุ่นเลย ตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 ท่านมีรับสั่งให้ คัดเลือกนักเรียนนายร้อย มาทำตำแหน่ง มหาดเล็ก ผมก็สมัครเข้าไป ผมจึงได้มีโอกาสได้รับใช้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ ได้มีโอกาศตามเสร็จ ผมเป็นทหารอยู่ช่วงหนึ่งก็หันมาทำธุรกิจ จำได้ว่าธุรกิจแรกที่ผมทำคือ ธุรกิจการรักษาความปลอดภัยแบบ VIP ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งบริษัทของผมเป็นบริษัทที่ดูแลความปลอดภัยที่สนามบินสุวรรณภูมิ และก็สถานที่สำคัญๆเช่น พวกขนส่ง การรถไฟ ก็เป็นบริษัทของผมที่เป็นคนดูแล ถามว่าประสบความสำเร็จไหม ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ พอเริ่มขยายธุรกิจมากขึ้น ผมก็ขยายไปเรื่องการทำอสังหาริมทรัพย์ ทำเรื่องตลาดสด ทำเรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาล ก็ประสบความสำเร็จกับการทำธุรกิจดี ผมว่าคนที่จบโรงเรียนนายร้อยส่วนใหญ่เป็นคนมีความรู้ระดับชั้นกระทิ จึงมีทักษณะในด้านอื่นๆแม้จะเรียนทหาร และผมก็ได้มีโอกาสรู้จักผู้ใหญ่ที่ทำธุรกิจหลายคน ทำให้ผมสามารถทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งธุรกิจที่ผมประสบความสำเร็จมาก ก็จะเป็นเรื่อง อสังหาริมทรัพย์ และเรื่อง สลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งสิ่งพวกนี้ผมสร้างมาด้วยลำแข้งของตัวเอง
MANGU : แล้วเพราะเหตุใด ท่านถึงเข้าแวดวงการเมือง
ท่านธรรมนัส : พอมีโอกาส และเริ่มมีเงิน ผมก็สร้างบ้านที่นาราธิวาส ผมเห็นสังคมไทยต้องมีการพัฒนาอีกเยอะ วิถีชีวิตของพี่น้องที่จังหวัด พะเยา บ้านเกิด รวมไปถึง จังหวัด นาราธิวาส ตอนนั้นผมอายุ40 กว่าปี ยกตัวอย่างเช่น บ้านที่เกิดของผม ผมเคยเห็นสมัยเด็กบ้านเป็นอย่างไร ก็ยังคงอยู่แบบเดิม ไม่มีการพัฒนาเลย ผมเลยคิดจะจัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งผมเอารายได้จากการทำธุรกิจประมาณ 20-30% ออกมาจัดตั้งมูลนิธิ เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือคนชรา คนที่เจ็บป่วย ทุกอย่างเพื่อการกุศลเลย เพราะเราอยากคืนสู่สังคมบ้าง เพราะการค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ทำให้ผมมีรายได้ในส่วนนี้ ซึ่งใครเดือดร้อน ผมก็ไปช่วยทุกที่ ผมดูแลทุกอย่างแม้แต่สร้างบ้านให้คนยากไร้ โดยเฉพาะบ้านเกิดผมที่จังหวัดพะเยา นั้นทำให้คนพะเยามองว่าพวกผมเป็นความหวังของพวกเขา เรื่องการเมือง พอผมลงสนามจริงผมแทบไม่ต้องหาเสียงเลย เพราะฉะนั้นคู่แข่ง จริงๆสู้กันหลายมือ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร
MANGU : หลังจากปฎิวัตรแล้วคนที่อยู่คนละขั้ว เดิมทีที่อยู่ไทยรักไทย ก็มีคนชวนท่านเข้าพรรคด้วย และท่านก็สามารถเข้าได้กับทุกคน ทุกฝ่าย ท่านมีวิธีการอย่างไร ที่ทำให้ท่านสามารถอยู่ร่วมกับทุกพรรคหรือทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี
ท่านธรรมนัส : ต้องบอกว่า ตอนนั้นพรรคพลังประชารัฐต่างก็เป็นคนจากพรรคไทยรักไทยเก่ากันทั้งนั้น และส่วนใหญ่ก็รู้จักกันหมด ไม่ว่าจะเป็นท่าน สันติ พร้อมพัฒน์ ท่าน วิรัช รัตนเศรษฐ ส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคไทยรักไทยเก่า ทำให้ในยุคนั้น พรรคพลังประชารัฐก็คือ พรรคไทยรักไทยเก่าเท่านั้นเอง ที่จริงพรรคไม่ได้ก่อตั้งมาโดยรัฐบาลทหาร แต่พวกเราถูกสั่งมาตั้งพรรคโดยทหารเท่านั้นเอง ทุกคนที่ไม่รู้จึงมองว่าเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยทหารแบบนั้น แต่จริงๆแล้วเลือดแท้ของเราคือ ไทยรักไทย ดังนั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าทำไมการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ พวกเราจึงกลับมามีบทบาทหน้าที่ได้
MANGU : ท่านเคยกล่าวว่า ท่านเป็นเส้นเลือดใหญ่ของวงการการเมือง เวลามีข่าวใหญ่ในแวดวงนี้ ท่านก็จะเป็นคนที่แก้ปัญหา ท่านมีเทคนิคหรือหลักการอะไรที่อะไรเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งนี้
ท่านธรรมนัส : ต้องบอกว่า รัฐบาลชุดที่แล้ว ต้องยอมรับว่าการจัดตั้งรัฐบาลมาจากผม ผมรวบรวมพรรคแต่ละพรรคที่สนับสนุน ท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการขับเคลื่อนรัฐบาลชุดที่แล้ว ก็จะเห็นว่า พอขาดผมแล้วจะมีปัญหาทันที เพราะว่า คอนแนกชั่นส่วนใหญ่เป็นของผม ดังนั้นคำว่าเส้นเลือดใหญ่ของผมจึงเห็นได้ชัดว่า ถ้าหากว่าขาดผมไปรัฐบาลก็ลำบากทันที เพราะว่ากลไกแต่ละกลไลของการจัดตั้งรัฐบาลไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนบุคคลที่เราสร้างมา คอนแนกชั่นที่เราสะสมมาตลอดระยะเวลา 30ปี มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และเราเป็นคนใจถึงใจ คำไหนคำนั้น กับแวดวงการเมืองเขามั่นใจในตัวผม พอไม่มีผมอยู่ ก็อย่างที่เห็นครับ เพราะผมมีเพื่อนฝูงเยอะและส่วนใหญ่คบกันมาด้วยใจครับ
MANGU : ท่านเคยรับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในตอนนี้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำไมท่านถึงให้ความสนใจกับกระทรวงนี้เป็นพิเศษคะ
ท่านธรรมนัส : ในช่วงที่ผมเป็นรัฐมนตรี เกษตรกรเรากำกับดูแลทั้งสบก. กระทรวงเกษตรและฝนหลวง กรมพัฒนาที่ดิน ตลาดอ.ต.ก ซึ่งเป็นสหกรณ์เล็กๆแต่กลับได้ลงพื้นที่เยอะ เราสะสมข้อมูลและการทำงานเยอะมาก เกษตรกรของเรา ถ้าหากไม่เอาจริงเอาจัง เราจะนำนโยบายนำไปสู่ภาคการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายไม่ได้ ดังนั้นถ้าได้หัวเรือที่ไม่ดี ไม่มีใจรักชาวบ้าน ไม่มีวิสัยทัศน์ ถือว่าลำบาก ดังนั้นผมจึงอยากมาอยู่ตรงนี้ เพราะผมฝึกงานมาแล้ว 3-4ปี พอเรามาอยู่ในจุดนี้ ทำให้เราไม่ต้องมานั่งเรียนรู้งานใหม่ เพราะเราเสียบปลั๊กก็สามารถ เดินนโยบายได้เลย สังเกตได้ว่า ในช่วยระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ผลงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผลงานที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปราบปรามสินค้าทางการการเกษตรที่ผิดกฎหมาย การยกราคาพืชผลทางการเกษตรที่มันดีขึ้น การเปลี่ยนที่ดินของ สพก.ให้กลายเป็นพื้นที่ทางการเกษตร การทำ Products ของแต่ละภูมิภาค และการขยายตลาด ผมเป็นคนทำทั้งหมด ซึ่งจริงๆแล้ว ในภาคการเกษตร พวกเราเป็นหน่วยงานการผลิต แต่เราก็ทำตัวเป็นตลาดด้วย โดยใช้ อ.ต.ก เราเปิดตลาดพืชผลทางการเกษตร เราก็ขยายและส่งออก เพื่อปรับ Demand & Supply ให้มีความสมดุลกัน เพื่อยกคุณภาพเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราใช้ตลาดนำ และใช้ นวัตกรรมเสริม เพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็เห็นว่า กระทรวงนี้เป็นกระทรวงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ พี่น้องเกษตรกรมีทั้งหมด 31ล้านคน ผู้ใช้แรงงานเพื่อการเกษตรอีก20กว่าล้านคน ซึ่งรวมแล้วเป็น 50กว่าล้านคน ในจำนวนประชากรไทย 66ล้านคน คือคนส่วนใหญ่อยู่ภาคการเกษตร ดังนั้นมันจึงเป็นกระทรวงที่ท้าทาย ถ้าเราทำดี คนไทยก็ลืมตาอ้าปากได้ หากมองโครงสร้างของประเทศไทย ผมมองว่าหากพื้นฐานโครงสร้างของรากดี เกษตรกรก็มีความเป็นอยู่ที่ดี ผมคิดว่า ประเทศไทย จะต้อง มั่นคง มั่งคั่ง หยั่งยืน ดังนั้น คนเราจะต้องเริ่มพัฒนาจากรากก่อน
MANGU : และท่านมีการวางแผนงาน อนาคตของเกษตรกรต่อไปอีก4เดือนนี้ยังไงบ้างคะ
ท่านธรรมนัส : ในช่วง4เดือนนี้ มันเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่มันสะสามมานาน มันค้างมานานหลายปี ผมก็จะนำมาปัดฝุ่นใหม่ เพราะเป็นสิ่งใหม่ที่ทำได้ เราจะต้องไม่ใช้งบประมาณเพราะยังใช้ไม่ได้ ต้องรอสองเดือนก่อน เราจะมาเคาะเรื่องนี้กันใหม่ ซึ่งขณะนี้เราศึกษาว่าบทเรียนที่ผ่านมาทำไมเกษตรกรไทย ภาพรวมของ GDP ภาคการเกษตร การเจริญเติบโตเพื่อการเกษตรทำไมมันถึงเจริญเติบโตน้อยแค่ 0.3 ในปี 2566 พอรู้แล้วว่ามันเกิดปัญหาจากอะไร ทำไมปัญหาถึงมีเรื่องความแปรปรวน สิ่งเหล่านี้ยังรวมไปถึงสภาพภูมิอากาศที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ทุกอย่างคือปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกคนเกิดความเสี่ยงเสียหาย ซึ่งในปัจจุบันจากสังคมคนทำงานกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมันเยอะ ดังนั้นเกษตรกรสูงอายุก็จะไม่ทำการเกษตรต่อ แล้วลูกหลานรุ่นหลังๆก็ไม่อยากทำต่อเพราะเห็นพ่อแม่ไม่มีความมั่นคงในชีวิต เขาก็ไม่อยากทำ สิ่งที่ผมกำลังจะทำและสั่งทำในเวลานี้คือการจำแนกเกษตรกร 31 ล้านคน จำแนกและควบคุมว่า กลุ่มไหนแข็งแรง กลุ่มไหนขนาดกลางและกลุ่มไหนที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแล พูดง่ายๆคือพวกกลุ่มอ่อนแอ หรือกลุ่มที่เปราะบาง คือมันต้องจำแนก ออกมา หน่วงงานรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลในส่วนตรงนี้ อย่างกลุ่มที่เข้มแข็งรัฐบาลควรจะส่งเสริมส่งออก กลุ่มขนาดกลางๆควรจะแปรรูป ส่วนที่อ่อนแอก็ต้องดูว่ามีกี่คน กี่เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มนี้รัฐบาลต้องเข้าไปอุ้มและดูแลอย่างใกล้ชิด คือมันเป็นโจทย์ว่าต้องทำอย่างไรให้เขาเข้มแข็ง เพราะเนื่องจากหนี้ครัวเรือน หนี้การเกษตร มันเยอะมากเลย รัฐบาลถึงออกนโยบายพักชำระหนี้ทั้งต้นและดอกครับ แต่ว่าระหว่างพักชำระหนี้ในตอนนี้ กระทรวงเกษตรก็ต้องเข้าไปฟื้นฟูส่วนของคนที่กำลังป่วยหนัก คำว่าป่วยแปลว่าอ่อนแอ คือหมายถึง เกษตรกรที่เป็นหนี้อยู่นั้นแหละครับ
MANGU : จริงๆแล้วทางกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ก็มีบทบาทเรื่องของเศรษฐกิจที่อาจส่งผลของชาติด้วยใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ใช่ครับ เพราะว่าประเทศไทยของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างมันเหมาะกับภาคการผลิต และการผลิตทางการเกษตรเราเคยเป็นแชมป์ทั่วโลกมาแล้ว เราเคยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก และยังส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก การส่งออกสินค้าเพื่อการประมงก็ใช่ งั้นเราเป็นภาคการผลิตที่ป้อนอาหารให้แก่สังคมโลก ผมมีโอกาสไปประชุมประเทศเยอรมัน พึ่งกลับมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สิ่งที่มันทำให้เราต้องกลับมาทบทวนบทบาทใหม่ คือ เราต้องผลิตของที่มีคุณภาพสู่สังคมโลก การทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอนนี้มันมีการกีดกันการค้าโดยเอาสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นตัวอ้าง ดังนั้นการทำเกษตรในเมืองไทยต่อไปนี้ การจะขยายตลาดเราจึงมีความจำเป็นต้องทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่อย่างงั้นจะถูกกีดกันทางการค้า โดยหลายสิ่งหลายอย่าง เรายังต้องถอดบทเรียนของปีที่ผ่านมา เพื่อให้เราสร้างและอัปเกรดการเกษตรไทยในยุคใหม่ เช่นตอนนี้ นายกรัฐมนตรีท่านเดิมทางไปเยือนประเทศไหน ก็จะไปกล่าวถึงอนุภาคการเกษตร เพื่อหาการตลาด ซึ่งตอนนี้เราก็ได้มาเยอะมาก เรื่องหลายๆเรื่อง ควบไปถึงราคาที่อยู่การเกษตร มันก็เห็นได้ชัดเจนว่าเรากำลังทำอะไรบ้าง เราไปติดต่อพันธมิตรในการค้าแล้วทำอะไรบ้าง คือเราทำอะไรให้มันเป็นประเด็นที่เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมันก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงตอนนี้ที่เป็นไฮไลต์ของกระทรวงครับ
MANGU : แล้วเรานำโมเดลของประเทศไหนมาปรับใช้บ้างคะ
ท่านธรรมนัส : ผมชอบศึกษาจากประเทศที่เขาลำบากนะ ล่าสุดที่ผมได้ประชุมที่เยอรมัน ผมได้มีโอกาสฟังรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของประเทศอียิปต์การถึงการทำการเกษตรในประเทศของตนเอง อย่างที่ทราบกันว่าประเทศอียิปต์เป็นประเทศทะเลทราย เขาพูดว่าเขาสามารถพลิกพื้นดินที่เป็นทะเลทราย ให้พื้นดินมีความชุ่มชื้นและมีต้นไม้ได้ ซึ่งการทำเกษตรของเขาเป็นการการเกษตรเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งผมก็ฟังว่าเทคโนโลยีต่างๆทางการเกษตรเค้าทำอย่างไร ทำไมถึงสามารถ ปลุกพืชในทะเลทรายได้ ด้วยนวัตกรรมของเค้าทำให้เกษตรกรบ้านเขาสามารถผลิตและปลูกพืชที่เราก็ไม่คิดว่าเค้าจะสามารถนำมาเป็นสินค้าและขายได้ ซึ่งเกษตรกรของบ้านเขามีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพราะการขาย คาร์บอนเครดิต ตอนนั้นเค้าพรีเซนต์ให้ผมฟัง ผมรู้สึกไม่อยากจะเชื่อ เพราะว่านั้นคือทะเลทราย มันสามารถมีต้นไม้สีเขียวเกิดขึ้นได้ ซึ่งจุดนี้ทำให้ผมสนใจว่าเขาทำได้อย่างไร ทำไมเค้าถึงสามารถเจาะน้ำบาดาลลึกไปเป็น 100 กิโลได้ ซึ่งตรงนี้ผมว่าน่าจะต้องศึกษา ซึ่งเขาใช้ระบบน้ำหยดทั้งหมด กับกายเป็นว่าดินที่เป็นดินเหลวอย่างดินทะเลทรายเค้าทำอย่างไรจึงจะสามารถปลูกต้นไม้ให้ประสบความสำเร็จได้ ยิ่งกว่านั้นเค้าสามารถทำให้เกษตรกรในประเทศของเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต ขายพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นประเทศของเขาจึงไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารเหมือนสมัยก่อน เพราะฉะนั้นเมื่อเรามองย้อนกลับมาบ้านเรา ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะอะไร การเติบโตทางด้านจีดีพีของเกษตรกรไทยถึงได้ต่ำ ในจุดนี้เราต้องกลับมาทบทวน เพราะว่าประเทศเรามีพร้อมทุกอย่าง ประเทศเราชอบวิตกกับภัยแล้งทั้งที่ในความเป็นจริง แต่ละปี น้ำในประเทศเราก็มีใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งเราก็คิดว่าจะจัดการปัญหาน้ำอย่างไรและปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ มันต้องมีความกล้าเปลี่ยนกล้าทำอย่างไร การแก้ไขกฎหมายต้แงปรับอย่างไร ภาคการประมงที่ผ่านมาที่มันมีผลกระทบ เราออกกฎระเบียบ ออกกฏหมายมาเพื่อบังคับพี่น้องชาวประมงที่เกิดวิกฤติ เพราะข้อกฎหมายไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งตรงนี้ผมดีดนิ้วแค่เพียง4 เดือนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด เพราะว่าเราเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ครับ
MANGU : แล้วท่านคิดว่าอะไรเป็นกุญแจสำคัญ ที่มันเป็นปัญหาและไม่ได้รับการแก้ปัญหามาตั้งนานแล้ว แต่ท่านใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้วคะ
ท่านธรรมนัส : ผมว่าเป็นเพราะความใส่ใจ บวกกับวิสัยทัศน์และประสบการณ์ ที่เป็นกุญแจสำคัญ พอมาบวกกับภาวะการเป็นผู้นำ ต้องบอกว่าคนที่มีองค์ความรู้ตั้งแต่ปลัดชั้นดีหรือข้าราชการ การชนะใจเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่าย มันอยู่ที่เรา ว่าตัวเรามีสภาวะการเป็นผู้นำการตัดสินใจอย่างไร เวลามที่เราขึ้นพูดลูกน้อง ลูกน้องจะต้องฟัง ฟังด้วยเหตุด้วยผลว่าสิ่งที่เรากำลังเดินทางนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ และเมื่อผมต้องแสดงบนเวทีบทบาทของโลก เวลาผมไปเจรจาการค้ากับใคร ส่วนใหญ่ผมไป ผมก็ไม่เคยกลับมามือเปล่า ผมจะมีผลงานตามกลับมาด้วยเสมอ ล่าสุดผมที่ผมไปเยอรมัน ผมก็ได้มีสินค้า ที่ไม่ใช่สินค้าควบคุมประเภทผลไม้ ผมก็จะนำไปในประเทศที่เค้าต้องการ อย่างผมไปเจรจากองทุนที่เขามีความต้องการจะมาตั้งกองทุนในประเทศไทย ซึ่งเป็นกองทุนที่ดูแลในส่วนของภาคการเกษตร ทั้งเอเชียและแปซิฟิก ผมใช้เวลาเจรากับเขาอยู่นาน ซึ่งผมก็ไปเจรจาได้สำเร็จ
MANGU : สินค้าทางการเกษตรของไทยเป็นที่ต้องการของทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งในประเทศจีนก็สนใจและชอบซื้อสินค้าการผลิตในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทางการเกษตรเช่นผลไม้ ท่านมีความเห็นอย่าง ไรในส่วนนี้
ท่านธรรมนัส : ผมบอกตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วแล้วว่าพันธมิตรของเราหรือพี่น้องเรา ก็คือ ประเทศจีน ทำไมเราถึงไม่รักษาและติดต่อการค้ากับคนจีน ซึ่งหากมองจำนวนประชากรในโลกนี้ ประเทศจีนมีจำนวนประชากรมากที่สุด ประเทศอินเดียก็เยอะเช่นกัน หากเราทำการค้ากับประเทศจีนและอินเดีย อย่างน้อยประเทศจีนก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีต้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษของเรา แล้วทำไมเราถึงไม่ทำการค้าร่วมกัน ซึ่ง ณ เวลานี้เรากำลังคุยกันอยู่ ผมก็ส่งทีมตัวแทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของเราไปเจรจาเรื่องการค้าที่จีน อีกทั้งยังเปิดตลาดที่เราไม่ได้ทำมาตั้งหลายปีแล้ว เดี๋ยววันที่ 29 มกราคม นี้ ผมต้องเดินทางไปที่ประเทศจีนเพื่อเข้าพบรัฐมนตรีว่าการทรวงการต่างประเทศของจีน เพราะจะต้องเดินทางมาพบและเซ็นบันทึกข้อตกลงระหว่าง รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในเรื่องของ วีซ่า ซึ่งตัวผมก็จะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงเกษตร กลับตัวแทนรัฐบาลจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการส่งออก เพื่อขยายความสัมพันธ์ที่ดีของไทยกับจีนให้มากกว่าเดิม ซึ่งสินค้าที่ประเทศจีนต้องการ ก็มีหลายหลายตัว เราก็กำลังจะเปิดขาย ซึ่งอันไหนที่มันไม่ถูกต้องเราก็ทำให้มันถูกต้องและยั่งยืน เพราะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และในขณะเดียวกันผมก็กำลังเดินทางไปที่ประเทศอินเดีย เพราะทางรัฐบาลอินเดียเค้าต้องการน้ำมันปาล์ม จำนวน 2,000,000 ตันในปีนี้ ซึ่งทางกระทรวงของเราก็จะขายให้เขา เรายังมีออเดอร์ข้าว จากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งเราขยายการค้าไปเยอะมาก หากถามว่าทำไมรัฐบาลชุดที่แล้วของเราไม่ทำ เพราะเกษตรกรเขามีเข็ดหลาบ ที่ผลิตพืชผลออกมาแล้วขายไม่ได้ เพราะไม่มีตลาด คุณค่าจีดีพี จึงลดลงเรื่อยๆ ทำให้ในปี 2566 ไม่ค่อยมีคนทำการเกษตร นาข้าวก็กลายเป็นนาล้างบ้าง การประมงก็ซบเซา แต่พอท่านรัฐมนตรีเปิดโลกกว้างและพร้อมเจรจา มันทำให้สินค้าของเราเริ่มได้ระบายออก ยกตัวอย่างเช่นทุเรียน ผมได้มีโอกาสไปเซ็นสัญญากับทางรัฐวิสาหกิจของจีน พวกเขาพึ่งสั่งมาทั้งหมด 5000 โบกี้ มันเยอะซะจนผมรู้สึกว่าผมไม่รู้ว่าจะไปเอามาจสินค้ามาจากไหน เพราะสินค้าที่สั่งก็สั่งเป็นมหาศาลมากๆ และ ยางพาราก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่รัฐวิสาหกิจจีนสั่งแบบมหาศาลครับ
MANGU : ในจุดนี้จะสามารถทำให้เกษตรกรไทยหันมาปลูกทุเรียนหรือยางพารามากขึ้นไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ต้องบอกว่า ตอนนี้เราก็กำลังจัดระบบเรื่องของการปลูกพืชผลในแต่ละภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น ภาคใต้เมื่อเขาปลูกยางกันเสร็จแล้ว พวกผมก็รณรงค์ให้พวกเขาไม่ตัดต้นยางทิ้ง ส่วนใครที่ปลูกปาล์มก็รักษาไว้ต่อไป ในขณะเดียวกันทางฝั่งเหนือที่เคยปลูกข้าว ก็รักษาไว้ ซึ่งผมจะบอกว่าอย่าไปปลูกอะไรที่มันไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นดินของแต่ละภูมิภาค อย่างเช่นสมัยแต่ก่อนภาคอีสาน อย่างข้าวหอมมะลิ ข้าวกุลาร้องไห้ ก็ทำให้ข้าวของไทยมีชื่อเสียง อย่างภาคตะวันออกให้เค้าปลูกผลไม้ไป อย่างนี้เราก็จะสามารถ control และจัดระบบให้กับพวกเขาได้ ในขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีทั้งหมด 14 กรม โดยมีสภาปลัดหนึ่งแห่ง สี่รัฐวิสาหกิจ สี่มหาชน ซึ่งเราจะ ระดมทั้งหมด 22 กรม เข้าไปบูรณาการ ยกตัวอย่างเช่นมีเกษตรกรทำนาเป็นงานหลักเราก็จะเข้าไปบูรณาการให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมเป็นการเลี้ยงสัตว์ ถ้าหาก รวมภาคการเกษตรและครัวเรือน รวมทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 80,000 กว่าบาท ต่อปี ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมันตกอยู่ที่ประมาณ 200,000 กว่าบาทต่อปี ซึ่งแน่นอนมันไม่สมดุลย์กัน ดังนั้น ทางกระทรวงต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เขามีอาชีพเสริมที่จะสามารถทำให้เกษตรกรไทยสามารถอยู่ได้และมีเงินเก็บออม
MANGU : แล้วเพราะอะไรสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทยมีโอกาสส่งออกเยอะมากมายขนาดนั้น แต่เกษตรกรไทยกลับยังยากจนอยู่
ท่านธรรมนัส : เพราะว่าราคาสินค้าที่ได้จากผลผลิตในประเทศไทยตกต่ำมาก ต้นทุนมันสูง ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนการผลิตค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน ทุกอย่างมันเป็นต้นทุนที่มีราคาสูง บวกกับตอนนี้เกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เพราะเกือบ 40% ตอนนี้กลายเป็นผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้นแรงงานเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรจึงขาดไป เราจึงจำเป็นต้องไป จ้างแรงงานจากต่างชาติมา ซึ่งมันก็แพงกว่าความเป็นจริง เพราะฉะนั้นต้นทุนการผลิตจึงสูง แล้วพอมาบวกกับราคาสินค้าของการเกษตรตกต่ำ มันจึงไปไม่รอด ซึ่งเราจะต้องทำยังไงก็ได้ให้เกษตรกรลดต้นทุน เราต้องใช้นวัตกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันการปลูกข้าวไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนแล้ว เราใช้โดนในการปลูก ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นาน ไม่เกิน 20 นาทีก็สามารถหว่านข้าวได้หมด เพราะว่าตอนนี้เครื่องจักรเครื่องไม้เครื่องมือมันทันสมัย ดังนั้นการเกษตรยุคใหม่จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี ดึงนวัตกรรมเข้ามาช่วย เพราะจำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิต
MANGU : แล้วในส่วนนี้ทางรัฐบาลจะจัดซื้อเทคโนโลยีต่างๆให้กับทางเกษตรกรไหมคะ
ท่านธรรมนัส : คือภาครัฐหรือไม่ก็กระทรวงเกษตรต่างก็มีเครื่องมือของแต่ละภูมิภาคอยู่แล้ว แต่ว่าการทำงาน และการจัดการไม่ดี มันจะต้องมีการวางแผนการจัดการให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน และรัฐบาลต้องเป็นกำลังให้เกษตรกร เกษตรกรจะได้ไม่ต้องไปจ้างคนอื่นมาทำ เพราะต้นทุนมันสูง ซึ่งตัวเทคโนโลยีต่างๆ และได้มาอยู่ภายใต้การกำกับ กระทรวงเกษตรประจำจังหวัดหรือไม่ก็อำเภอ ถ้าคุณจะรับจ้างเกี่ยวข้าวต้องทำให้มันเป็นระบบ อย่าไปคิดแพง จะได้ทั่วถึงกันและนี่แหละคือสิ่งที่พวกเรากำลังทำ
MANGU : ในตลอดชีวิตการทำงานของท่าน ท่านต้องเจอมุมหักเหของชีวิต อยากทราบว่าท่านมีวิธีการจัดการเรื่องนี้อย่างไร
ท่านธรรมนัส : คือการทำอะไรก็ตามเราต้องมีสติ ซึ่งเมื่อเจอวิกฤตเราจะต้องตั้งสติก่อน และปัญหาทุกอย่างมีไว้ให้แก้ ดังนั้น ผมเจออะไรก็ตามผมจะต้องมีสติ และกลับมาทบทวนว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างนี้ได้อย่างไร ซึ่งอย่างตัวผมอยู่ในเวทีการเมือง ซึ่ง Spotlight แสงสว่างต่างๆต้องส่งที่ตัวผมอยู่แล้ว ซึ่งในจุดนี้ จะมีทั้งคนรักและคนชังก็เป็นเรื่องปกติ แต่เราจะทำอย่างไรให้พวกเราเดินได้อย่างสง่างาม ผมว่าไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการทำงานแบบเอาจริงเอาจัง โดยไม่มีอะไรที่มันอยู่เบื้องหลัง ในตอนนี้ในขณะที่ผมเดินเข้าสภา ผมรู้สึกว่ามันไม่เหมือนสมัยแต่ก่อน ในสมัยนี้ เมื่อแสงไฟส่องมาที่ผมปุ๊บ ผมก็คิดว่าผมจะต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนทุกท่าน เพราะมีบุคคลหรือม็อบ ที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อมาที่ ธรรมเนียบรัฐบาล ส่วนใหญ่ผู้ที่เคลียร์ปัญหาก็คือผม เพราะเราเข้ากับชาวบ้าน เมื่อเราเอาปัญหาของชาวบ้านเป็นที่ตั้งแล้ว ประชาชนก็จะเป็นโล่ที่เป็นเกาะป้องกันให้กับเรา
MANGU : พูดถึงชีวิตส่วนตัวของท่านบ้างนะคะ ก็เป็นที่เล่าขานกันว่าภรรยาของท่านเป็นถึงอดีตนางสาวไทย ท่านไปพบกับภรรยาได้อย่างไร แล้วตอนนี้ภรรยาก็เป็นผู้ช่วยทั้งมือซ้ายและมือขวาให้ท่านด้วยใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : เราก็ผ่านการใช้ชีวิตแบบชีวิตคู่มาเยอะนะซึ่งผมก็มาเจอน้องเขาตอนเป็นนางสาวไทยเมื่อช่วงปีพ.ศ. 2539 เค้าได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ผมเนี่ยก่อนหน้านั้นที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตเป็นนักการเมือง ผมก็มีชีวิตเป็นการทำธุรกิจ ที่เราไม่ได้ซีเรียสอะไร ยืนอยู่ในสังคมที่ไม่ได้ซีเรียสอะไร ซึ่งก็เป็นชีวิตที่เอาครอบครัวเป็นหลักไปนู่นไปนี่ ซึ่งพอมาอยู่กับภรรยาเองเราก็เป็นครอบครัวที่มีความสุข แต่พอเข้าปีพ.ศ. 2562 ก็เค้าก้าวเข้าสู่ชีวิตการเมืองอย่างเต็มตัวชีวิตก็เปลี่ยนเลย ทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ที่เราจะต้องอยู่กับครอบครัวนั้นคือแทบจะไม่มีเลย อย่างเขาที่จบจากการเป็นหมอมาก็ต้องออกมาและใช้ชีวิตอยู่ดูแลผมเลย ซึ่งเขา ก็เปลี่ยนจากคนที่ใช้ชีวิตจากวงการหนึ่งมาเป็นอีก วงการ หนึ่งเลย ถามว่าชีวิตเปลี่ยนไหม เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยครับ แล้วบวกกับเราเป็นคนจริงจังกับการทำงาน เช่นสมัยแต่ก่อนเราเคยมีความสุขไปเที่ยวต่างประเทศ ด้วยกันพอเข้าสู่แวดวงการเมืองก็ไม่มีเลย ซึ่งผมกับภรรยาช่องว่างระหว่างวัยของเรามีเยอะทำให้ในช่วงแรกๆก็มีทะเลาะกันบ้าง ตั้งหลังก็เค้าเข้าใจเราหมดเกือบทุกอย่าง
MANGU : แล้วตอนนี้เรามีวิธีการบาลานซ์การทำงานและการใช้ชีวิตอย่างไร
ท่านธรรมนัส : ผมต้องยอมรับตามๆว่าเวลาของครอบครัวหายไป ผมอยู่กับเวลางานมากกว่าเวลาของครอบครัว เวลา 24 ชั่วโมงที่ผมอยู่กับครอบครัวก็คือเวลาที่ผมทำงานเสร็จแล้วนะกลับไปนอนกับครอบครัว ตื่นเช้ามาก็ต้องรีบกลับมาทำงาน เสาร์-อาทิตย์และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆผมไม่เคยมีวันหยุด ถ้าถามถึงชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตคือผมแทบจะไม่ได้ใช้เลยผมทำแต่งงาน ซึ่งภรรยาที่อยู่กับเราก็ต้องเข้าใจ
MANGU : แล้วท่านมีงานอดิเรกอะไรไหมคะ
ท่านธรรมนัส : แต่ก่อนผมเป็นคนชอบออกกำลังกาย ผมชอบวิ่ง ชอบเล่นกล้าม แล้วก็ซ้อมมวย แต่พอผมมาเป็นนักการเมือง โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการ เวลาหายหมดเลย เพราะเอาเวลาไม่ว่างานอย่างเดียวเพราะเราคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุธพฤหัสการประชุมวันจันทร์ก็มาที่ธรรมเนียบ อังคารประชุมครม. และผมเป็นถึงคณะกรรมการระดับชาติ ประมงแห่งชาติที่ดินแห่งชาติ น้ำแห่งชาติ ดังนั้นชีวิตของผมมีแต่ประชุมและการทำงานไม่มีเวลาได้หยุด
MANGU : ได้ข่าวว่าท่านก็เป็นเซียนพระด้วยใช่ไหมคะ
ท่านธรรมนัส : ผมไม่ได้เป็นเซียนพระหรอกครับ แต่ผมก็นับถือเรื่องนี้ และรู้สึกว่าเป็นความชื่นชอบ ซึ่งทำให้ผมเข้าไปศึกษาในเรื่องนี้ เพราะผมเป็นคนชอบทำบุญ เราก็จะคลุกคลีอยู่ในแวดวงพระสงฆ์ ผมก็รู้จักพระผู้ใหญ่เยอะแยะ ซึ่งเวลาผมไปทำบุญก็ได้มีโอกาส สนทนาธรรมกับพระเกจิอาจารย์ก็ถือว่าได้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
MANGU : สุดท้ายนี้มีอะไรจะฝากถึงเพื่อนชาวจีนเพิ่มเติมมั้ยคะ
ท่านธรรมนัส : ผมถือว่าเป็นคนไทยที่มีเพื่อนเป็นชาวจีน ประเพณีต่างๆของคนจีน ก็บอกว่าใจของผม รู้สึกรักคนจีน และส่วนใหญ่ชีวิตผมที่ได้ดีในทุกวันนี้ก็เพราะส่วนนึงเป็นเพราะพี่น้องคนจีน เพราะพวกเขาให้การสนับสนุนผมมา ดังนั้นอยากฝากถึงพี่น้องชาวจีนนะครับว่า ถึงเลือดคนจีนในตัวของผมจะจางไป สายเลือดของคนจีนที่ประสมประสานกับคนวัฒนธรรมล้านนา ก็ทำให้ผมรู้สึกรักคนจีนรักคนเชื้อสายจีน ยกตัวอย่างเช่น คนไทยในประเทศไทย มี 10 คน 9 คนก็เป็นคนที่เชื้อสายจีน ตั้งนั้นเราจึง ผูกพันกับคนจีน งั้นวันตรุษจีนผมก็ขออวยพร ให้พี่น้องชาวจีนที่อยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย หรือว่าประเทศไหนไหน ประสบแต่ความสุขความสำเร็จ โชคดีในปีมังกรทอง ขอให้เป็นปีที่ดีของคนจีน ขอให้เฮงเฮงรวยรวยครับ
Thank you.
ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
____________________________
Photographer : Natchakrit Wichiensarn @ktpx.kritt
Graphic Designer : Natchaphol Jin Srijun @Banshy.j
Coordinator : Lalana Akka-hatsee @joobjang_akhs
Column Writer :Zhong Muyue @Rocky
____________________________